Page 475 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 475

451
เวทนาที่เกิดกับใจ เฉยกับทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้รส หรือเห็น เห็นอะไรก็ตาม ความรู้สึกหรือจิตเราจะนิ่งเฉยกับอารมณ์ นั้น ๆ ไม่เกิดความยินดียินร้าย และคาว่า “อุเบกขา” ก็จะไม่มีความสุขด้วย ในตัว ถึงแม้ไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์ภายนอก ความสุขก็ไม่ปรากฏ แต่ถ้า เมื่อไหร่มีความสุขเกิดขึ้นก็ไม่เรียกว่าอุเบกขา
เพราะฉะนั้น ขณะที่กาหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้น อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้น เราจะรู้ชัดด้วยว่ารับรู้ด้วยจิตประเภทไหน ใช้จิตที่สุขรับรู้ ใช้จิตที่สงบ ทาหน้าที่รับรู้ ใช้จิตที่เป็นความเฉยหรืออุเบกขารับรู้อารมณ์ หรือใช้จิตที่ ว่างเบาทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น การใช้จิตที่เฉย ๆ รับรู้อารมณ์กับ การใช้จิตที่สงบรับรู้อารมณ์ ผลก็จะต่างกัน ลักษณะของอาการเกิดดับของ สภาวะที่เกิดขึ้นต่างกัน การใช้ความสงบรับรู้ ลักษณะอาการดับก็เป็นแบบ หนึ่ง การใช้ความรู้สึกที่ตื่นตัวทาหน้าที่รับรู้ ลักษณะอาการดับของอารมณ์ ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง การใช้จิตที่มั่นคงทาหน้าที่รับรู้ ลักษณะอาการเกิดดับ ของอารมณ์ก็จะต่างไปอีกอย่างหนึ่ง... แต่ละขณะ แต่ละอย่าง จะมีความ แตกต่างกัน
เพราะฉะนั้น แต่ละขณะ แต่ละสภาวะ ที่ปรากฏขึ้นมา ที่เรากาลัง ตามรู้ จึงต้องรู้ไปด้วยว่าสภาพจิตเป็นอย่างไร ที่จริงแล้ว ขณะที่เราตามรู้ อาการเกิดดับในแต่ละขณะ แต่ละขณะ ผลที่เกิดขึ้นมาเราจะต้องรู้สึกได้อยู่ แล้วว่า ขณะที่ตามรู้ไปนั้น จิตเรารู้สึกสงบ นิ่ง มั่นคง ใส ตื่นตัว มีความสุข หรือมีความอ่อนโยน อันนี้โยคีจะต้องสังเกตควบคู่กันไป ซึ่งก็เป็นผลที่ เกิดขึ้นแล้ว อย่างที่เคยบอกแล้วว่า ขณะที่เราตามรู้อาการเกิดดับในลักษณะ อย่างนี้ สภาพจิตเป็นอย่างไรก็ต้องปรากฏอยู่ดี เพราะการตามรู้อาการเกิดดับ ทุก ๆ ขณะ ไม่ว่าจะเป็นอาการของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ความสุข หรือความเฉยก็ตาม จะส่งผลต่อสภาพจิตใจของเรา ในแต่ละขณะ แต่ละขณะ ในแต่ละบัลลังก์


































































































   473   474   475   476   477