Page 477 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 477

453
อย่างนั้นไม่ต้องไปกังวลเรื่องต้นจิต ให้รู้อาการของอิริยาบถย่อยที่กาลัง ปรากฏชัดอยู่นั้นว่าเกิดดับในลักษณะอย่างไรต่อไป เมื่ออาการเกิดดับของ อิริยาบถย่อยหมดไปหายไป รู้สึกว่าเรากลับมารู้ต้นจิตต่อในอาการอื่นต่อไป
ที่บอกว่าอิริยาบถย่อยหมดไปหายไป ในที่นี้หมายถึงอาการที่มี ความต่อเนื่องกัน อย่างเช่น เรามีการเคลื่อนไหวมือสักระยะหนึ่ง พอตอน แรกเรากาหนดต้นจิตแล้วรู้ก่อนยกมือได้ แต่พอเคลื่อนไหวมือเร็วขึ้น จิต จะไปเกาะอยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของมือแล้วเห็นอาการเกิดดับไป นั่นคือจน การเคลื่อนไหวของมือเราสิ้นสุดลง หยุดไป เมื่อเคลื่อนไหวสิ้นสุดลงแล้วก็ มารู้อาการอื่นต่อ มารู้อาการหยิบหรือทาอย่างอื่นต่อ ก็มาเริ่มการรู้ต้นจิตต่อ สลับกันอยู่อย่างนี้ ต่อเนื่องอยู่เนือง ๆ สลับกันอยู่เนือง ๆ จะทาให้สติเรามี ความต่อเนื่อง การปฏิบัติของเราก็จะมีความต่อเนื่องกัน
เมื่อการปฏิบัติมีความต่อเนื่องอย่างนี้ จะไม่มีช่องว่างให้เราได้หยุด หรือสภาวะหยุดไป สภาวญาณตก สังเกตเป็นระยะ ๆ ไม่ใช่เคร่งเครียด แต่ เคร่งครัดกับตัวเอง พอใจที่จะกาหนดรู้ ใส่ใจในอาการของตนเองอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะหยิบจะจับ เคลื่อนไหว จะกระพริบตา อ้าปาก จะหันซ้ายหันขวา ให้ รู้สึกขึ้นมาทันทีว่าแต่ละอาการที่ปรากฏขึ้นมานี่ จิตเราสั่งก่อนไหม ? รู้ก่อน ไหม ? มีเจตนาอย่างนี้อยู่เสมอ นี่คือการกาหนดต้นจิต มี “เจตนา” ที่สังเกต ก่อนที่เราจะพูดนี่ รู้ก่อนไหม จิตมันสั่งก่อนไหม ? ก่อนที่จะกระพริบตา จิต สั่งก่อนหรือเปล่า ?
การกาหนดต้นจิตตรงนี้ นอกจากเห็นอาการของอิริยาบถย่อยชัดเจน เห็นต้นจิตชัดเจน โดยอารมณ์บัญญัติแล้ว เราจะเห็น “เจตนา” ของเราชัดเจน ในการกระทาแต่ละอย่าง จะได้รู้ชัดว่าสิ่งที่เรากาลังทาอยู่นี้ ทาทาไม ? ทา เพื่ออะไร ? รู้ถึงเหตุและผลที่เกิดขึ้นด้วย นั่นล่ะประโยชน์ที่จะได้รับจากการ กาหนดต้นจิต แต่สิ่งเหล่านี้นักปฏิบัติจะต้องสังเกตแล้วพิจารณาด้วยตัวเอง ว่าเราเห็นอย่างนั้นหรือเปล่า เห็นไหมว่าเป็นอย่างไร ? เป็นการฝึก เป็นการ


































































































   475   476   477   478   479