Page 479 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 479

455
จักจั่นเรไร เสียงจิ้งหรีดที่ปรากฏขึ้นมานั้น เรียกว่า “อารมณ์ภายนอก” เข้า มาให้เราได้กาหนดรู้
อารมณ์ภายนอกที่ปรากฏขึ้นมาให้กาหนดรู้ เราเอาอารมณ์นั้นมา เป็นอารมณ์กรรมฐานได้อย่างไร ? แค่เรามีเจตนา เขาเรียก “ยกจิตขึ้นสู่ อารมณ์วิปัสสนา” มีเจตนาที่จะเข้าไปรู้ว่าอารมณ์ที่กาลังปรากฏอยู่นั้นเกิด ดับในลักษณะอย่างไร เสียงที่กาลังได้ยินเกิดดับในลักษณะอย่างไร ? ภาพ ที่ปรากฏขึ้นมาดับอย่างไร ? ภาพที่ปรากฏก็คือการเห็น พอเราหันไปเห็น ต้นไม้ ดับอย่างไร ? หันไปเห็นคน เห็นแล้วดับอย่างไร ? เห็นแล้วดับไหม ? แวบหายไป กระจายไป เลือนไป บางไป... ตรงนั้นแหละคือการสังเกตอาการ เกิดดับของอารมณ์ภายนอก
ถามว่า เห็นได้อย่างไร ? ถ้าเราจับที่ความรู้สึก ก็เห็นจิตไปกระทบแล้ว ดับ ขณะที่จิตดับ ภาพนั้นหายไปด้วยไหม ? นั่นคือสิ่งที่ต้องสังเกต ชั่วขณะ ที่จิตดับ จิตที่ทาหน้าที่รู้ดับไป ภาพท่ีปรากฏขึ้นมาดับด้วยหรือไม่ ? นั่นก็คือ สิ่งที่ต้องสังเกต ดับในลักษณะอย่างไร ? นั่นเขาเรียกอารมณ์ภายนอก ความ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง เป็นลักษณะของธาตุ ๔ ที่ปรากฏกับร่างกาย ของเรา ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง ที่ปรากฏขึ้นมา มีการเกิดและ ดับในลักษณะอย่างไร ?
ถ้าเรามีเจตนากาหนดรู้อย่างนี้ จะไม่มีคาถามว่า ทาไมสิ่งนั้นถึง เกิดขึ้น ? ทาไมถึงเป็นอย่างนี้ ? ทาไมมันตึงจัง ? ทาไมมันร้อน ? ทาไมมัน เย็น ? อาการเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง เป็นลักษณะของธาตุ ๔ ที่ปรากฏ ให้ได้รับรู้ แต่เมื่อมีสติเข้าไปรู้ สิ่งที่ต้องสังเกตคือ เขามีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร ? และความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ที่เกิดขึ้น ทาให้กิเลสเราเกิดหรือไม่ ? ทาให้จิตเกิดความขุ่นมัวเศร้าหมองหรือเปล่า ? หรือเป็นแค่เวทนา เป็นแค่ลักษณะของธาตุที่ปรากฏขึ้นมา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เท่านั้นเอง ?


































































































   477   478   479   480   481