Page 486 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 486

462
พอคนอื่นไม่เข้าใจ ที่ดีอยู่ก็พลอยหายไปด้วย เพราะฉะนั้น “วิธีคิดที่ดี” กับ “จิตที่ดี” ถ้ามีความสมดุลกัน จะได้ประโยชน์อย่างมาก
แล้วการพิจารณาสภาวธรรมของเราอย่างหนึ่ง ตั้งอยู่บนหลักของ อะไร ? ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอะไร ? ว่าโดยสภาวะ เป้าหมายของเราเพื่อ ขัดเกลาตัวเอง เพราะฉะนั้น เวลาเรากาหนดรู้ ตามรู้อาการของรูปนาม ดู กายดูจิตของเราทุกครั้ง จึงต้องสังเกตควบคู่ไปเสมอ ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเกิด ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะที่ปฏิบัติในอิริยาบถหลักหรืออิริยาบถ ย่อยก็ตาม อิริยาบถหลักคือ ยืนเดินนั่งนอน อิริยาบถย่อย กินดื่มทาพูด คิด ใช้ชีวิตประจาวัน กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เราพิจารณาถึงอาการเกิดดับที่กาลังเป็นไป ถ้าตั้งอยู่บนเป้าหมาย ของการขัดเกลาตัวเอง เริ่มจากบัญญัติ คือเมื่ออารมณ์ต่าง ๆ เข้ามากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ที่เกิด กับใจ ความคิด ความชอบ ความอยากความปรารถนาที่เกิดขึ้น ที่เป็น บัญญัติ เราพิจารณากาหนดรู้เพื่อขัดเกลาจิตใจตัวเอง เราสังเกตว่า เมื่อ อารมณ์นี้เข้ามากระทบแล้วทาให้จิตใจเราเป็นอย่างไร ? ทาให้กิเลสเราเกิด ไหม ? ทาให้ความทุกข์เราเกิดไหม ? ถ้าความทุกข์เกิดขึ้น ความเศร้าหมอง เกิดขึ้น เราดับอย่างไร ? อันนี้อย่างหนึ่ง
เราต้องทาอย่างไร ? เราต้องดับที่ตัวเราก่อน ดับอารมณ์ที่เกิดกับ ใจเราก่อน เขาเรียกว่า “ดับเวทนา” เพื่อป้องกันการสร้างภพชาติต่อไป เวทนา ที่เกิดขึ้นตรงนี้ก็คือ ความรู้สึกดีไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบ สิ่งที่สาคัญที่เราเห็น ได้ชัดคือ กระทบแล้วรู้สึก “ไม่ชอบ” ถ้ารู้สึกดี ไม่ค่อยมีปัญหากับเรา เท่าไหร่ แต่ถ้ารู้สึกว่าไม่ดี รู้สึกเป็นทุกข์ มีความขุ่นมัวความเศร้าหมองขึ้นมา เมื่อไหร่ ต้องบอกตัวเองว่า เราจะทาอย่างไร ? จริง ๆ เราต้องดับความรู้สึก ไม่ดีนั้นทันที ก็ดับที่เวทนา


































































































   484   485   486   487   488