Page 492 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 492

468
ความรู้สึกที่เซ็ง ๆ แห้งแล้งห่อเหี่ยวและเบื่อหน่าย บางครั้งอาจจะ เกิดจากปัญญาของเรา ถ้าเราพิจารณาว่าความรู้สึกแห้งแล้งห่อเหี่ยวเกิดอยู่ ในที่ว่าง ๆ แล้วมีผู้ดู ไม่มีเราเป็นผู้รับ เป็นแต่เพียงผู้ดูความรู้สึกอันนั้น ตรงนี้เกิดจากปัญญา เพราะอะไร ? เพราะเห็นว่าความรู้สึกที่แห้งแล้งกับ ผู้ดูเป็นคนละส่วนกัน ตรงนี้เกิดจากปัญญา เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นจริง ๆ เป็น สิ่งที่ต้องพิจารณาในสิ่งที่เขาเป็นจริง ๆ ไม่ใช่อนุมานหรือคิดเอาว่าเกิดขึ้นแล้ว เป็นเพราะเรามีปัญญา แต่ถ้าเราเห็นว่าความแห้งแล้งความห่อเหี่ยวเบื่อ หน่ายที่เกิดขึ้นเป็นคนละส่วนกับตัวเรา แต่เขาเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ แล้วตัว ที่ทาหน้าที่รู้เป็นอย่างไร ? ทาไมถึงเป็นอย่างนั้น ?
ถ้าสังเกตดี ๆ ผู้รู้หรือใจที่ทาหน้าที่รู้ตรงนี้จะสงบ ความแห้งแล้ง ห่อเหี่ยวเบื่อหน่ายตั้งอยู่บนความสงบ นี่เป็นเรื่องแปลก เกิดจากปัญญา เพราะฉะนั้น เวลาความรู้สึกประเภทนี้เกิดขึ้น สังเกตว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้เป็น อย่างไร ? เขาเกิดที่ไหน ? ในความว่างความสงบ ? หรือเพราะไม่ได้ดั่งใจ เรา ? ถ้าเมื่อไหร่ที่เขาอยู่ภายใน เป็นเรา เป็นเรา เป็นเรา เป็นเรา... อันนั้น ไม่ได้เกิดจากปัญญาหรอก เกิดจากปัญญาหายไป เกิดจากความมีตัวตน หรืออวิชชาเข้ามาแทน มีตัวตนมีโมหะเกิดขึ้น จึงรู้สึกว่าเป็นเรา เราเป็น ผู้เสวย เขาเรียก “มีผู้เสวย มีผู้รับผล เป็นผู้รู้รสชาติ” เพราะฉะนั้น เรา ปฏิบัติธรรม ถามว่า สภาวะเหล่านี้เกิดไหม ? เกิด ที่บอกว่าเกิดจากปัญญา นั่นหมายถึงว่าสภาวธรรมที่เขาต้องเกิด
ถ้าเราพิจารณาต่อไปว่า ที่เบื่อที่แห้งแล้งนี่ เบื่ออะไร ? แห้งแล้ง เพราะอะไร ? เพราะไม่ได้อะไร ? เพราะขาดอะไร ? หรือเพราะเห็นอะไร ? ขาดอะไรไปถึงแห้งแล้ง ? ขาดอะไรไปถึงขุ่นมัว ? หรือเพราะอะไรเกิดขึ้น จึงทาให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น ? ปัญญาเกิดขึ้นมา พิจารณาถึงความ เปลี่ยนไป เห็นความไม่เที่ยงของทุกอย่าง ทุก ๆ โลก ทุกภพภูมิ ว่าไม่มีอะไร น่าปรารถนาน่ายินดีเลย พิจารณาดูแล้วมีแต่ของว่างเปล่า ไม่มีแก่นสาร


































































































   490   491   492   493   494