Page 505 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 505

481
ลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตรงนี้ เวลาเราเล่าสภาวะ เล่า ในลักษณะอย่างไร ? เวลาเล่าลักษณะอาการเกิดดับจะบอกว่า เห็นว่าเขา เกิดขึ้น เขาตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เล่าอย่างนี้ก็ยังไม่ชัด เพราะภาษาเหล่านี้ใคร ก็พูดได้ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องแยกตามอาการ พิจารณากาหนดรู้ตาม อาการให้ชัดเจนว่า ใหม่ ๆ เรากาหนดอาการเกิดดับของอารมณ์อะไร ยก ตัวอย่างเช่น เราไปกาหนดรู้อาการเกิดดับของเสียง สมมติว่า เสียงนาฬิกา ที่เขาดังแก๊ก ที่เราได้ยินก็คือตอนที่เขาตั้งอยู่ ถ้าสติเรามีกาลัง เขาแก๊ก ขึ้นมาแล้วมีอาการกระจายแล้วค่อยจางหาย หรือแก๊กหายเลย เราเล่าตาม อาการแบบนี้ หรือแวบ หาย แวบ หาย แวบ หาย... อันนี้ก็จัดเป็นเล่าตาม อาการ
ลักษณะอาการที่แวบหาย เขาเป็นจุดเล็ก ๆ หรือเป็นเส้นแวบ หรือ เป็นอาการกระจาย ๆ แล้วก็แวบหาย หรือมีอาการแค่ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา ผุดใหม่ ผุดใหม่... ตรงที่เกิดเห็นเกิดอย่างเดียว คือเห็นแต่ผุด ข้ึนมา แต่ตอนดับไม่เห็น ผุดเกิดใหม่หรืออาการนั้นพุ่งเข้ามาหาตัว ตรงนี้ เขาเรียกว่า “เห็นการเกิดของอารมณ์” ฉะนั้น สังเกตดี ๆ เราจะเห็นว่า บาง ครั้งเสียงที่ได้ยิน เป็นแสงสว่างพุ่งเข้ามาแล้วก็ดับไป พุ่งใหม่ ดับไป พุ่งเข้า มา ดับไป... แต่บางทีก็ไม่พุ่ง เขาเกิดตรงนั้นแล้วก็บานออกแล้วก็ดับ บาน ออกแล้วก็ดับ... นี่คือลักษณะที่เราเห็น
ตอนที่กระทบดับนี่เราไม่เห็น เห็นแต่พุ่งมาใหม่ เขาเรียกว่าเห็น ๒ ขณะ เห็นการเกิดกับการตั้งอยู่ แต่ถ้าเห็นว่าพุ่งเข้ามา แล้วกระทบแล้วก็วาบ หายไป เห็นอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เห็น ๓ ขณะของอาการ ถ้า เห็นในลักษณะอย่างนี้ สภาพจิตเป็นอย่างไร ? ยิ่งเห็นอาการพุ่งมาเรื่อย ๆ อาการที่พุ่งเข้ามา ยังพุ่งยาวเท่าเดิม หรือว่าอาการพุ่งสั้นลง ๆ นี่คือสังเกต การเปลี่ยนแปลง ความต่างไปของอาการของสภาวะที่เกิดขึ้น ถ้าอาการพุ่ง จากที่พุ่งมาถึงตัว แล้วอาการพุ่งสั้นลง ห่างตัวออกไป สั้นลง ๆ แล้วก็หมด


































































































   503   504   505   506   507