Page 507 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 507

483
อย่างเช่น ขณะที่ฟังเสียง พอนิ่งปุ๊บ เราใส่ใจที่เสียง จิตเราก็จะมุ่ง ไปที่เสียงทันที นั่นคือตัวมุ่งโดยธรรมชาติของจิตเรา แต่ถ้าเรานิ่งแล้วไม่ สนใจอะไรเลย จิตก็จะไม่ไป เพ่งอย่างเดียวก็จะเป็นเพียงผู้ดู เพราะฉะนั้น เวลาจะมุ่ง มุ่งตอนไหนได้บ้าง ? เวลามุ่ง ต้อง “มุ่งไปที่อาการ” เมื่อมีอาการ เกิดดับปรากฏขึ้นมา อย่างเช่น เราฟังเสียง ขณะแรกเรายังไม่มุ่ง อาการ เกิดดับของเสียงเขาเกิดดับในลักษณะอย่างนี้ อย่างเช่นเมื่อกี้ที่บอกว่าเขา พุ่งเข้ามา พุ่งเข้ามา... แต่เมื่อเราเพิ่มตัวมุ่งเข้าไป อาการเกิดดับนั้นเขาเปลี่ยน ไปอย่างไร จากที่เคยพุ่งเข้าหาตัว ? นั่นคือสิ่งที่ต้องสังเกต
นอกจากเสียงที่ปรากฏขึ้นมา อาการอื่นก็เช่นเดียวกัน อย่างเวลารูป หายไป เหลือแต่ความว่าง แล้วมีอาการเกิดดับที่ปรากฏอยู่ในความว่าง บอกได้ไหมว่าอาการเกิดดับเป็นจุด เป็นกลุ่ม เป็นก้อน เป็นเส้น หรือแค่ รู้สึกว่ามีอาการไหว ๆ กระเพื่อม ? อาการกระเพื่อม กระเพื่อมแบบไหน ? กระเพื่อมไปข้างหน้า หรือขยายออกด้านข้าง หรือมีอาการกระเพื่อมขึ้น ข้างบน ? อันนี้ถ้าเราแยกได้ด้วยก็จะดี เพราะว่าแต่ละขณะ แต่ละอย่าง แต่ละลักษณะ เป็นตัวบอกถึงปัญญาของเรา เป็นตัวบอกถึงสติสมาธิของเรา เป็นตัวบอกถึงการพิจารณาการใส่ใจในการสังเกตของเรา ว่าเป็นไปอย่างไร
การที่เราใส่ใจสังเกตจะทาให้เรามีปัญญาโดยแยบคาย เราจะพิจารณา และเห็นได้ละเอียดยิ่งขึ้นว่า อ้อ! อาการแบบนี้เป็นแบบนี้ก็มี ยิ่งดูก็ยิ่ง เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม เวลาสังเกตอาการเกิดดับทุกครั้ง เราต้องรู้สภาพ จิตเราด้วยเสมอ เพราะเป็นสิ่งที่เขาเกิดขึ้น สภาพจิตเป็นของคู่กันกับอาการ เกิดดับ ยังไงเขาก็เกิด! รู้สึกอย่างไร ? รู้สึกสงบ ? รู้สึกเฉย ๆ ? ส่วนใหญ่ เฉย ๆ นี่ ว่าโดยสภาวะ ว่าโดยบรรยากาศ หาได้น้อย จริง ๆ คือรู้สึกว่าง ๆ รู้สึกสงบ รู้สึกนิ่ง ๆ
ถ้าพูดถึงสภาพจิต คาว่า “เฉย” นี่ เราจะเฉยกับทุก ๆ อารมณ์ ? เฉย กับอะไร ? พอได้ยินเสียงเข้ามากระทบแล้วรู้สึกนิ่ง ๆ เฉย ๆ คาว่า “เฉย”


































































































   505   506   507   508   509