Page 509 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 509

485
อ่อนโยนมีความหนาแน่น อาการเกิดดับของอารมณ์ต่าง ๆ หรืออารมณ์ ต่าง ๆ ที่ดับก็เด็ดขาดได้ แต่ถ้าอ่อนโยนแต่ไม่มีความหนาแน่น อ่อนโยน ขาดความหนักแน่นมั่นคง อาการเกิดดับก็จะไม่เด็ดขาด จะดับแบบมีเศษ เพราะฉะนั้น เวลาเรากาหนดอาการเกิดดับหรือเวลาปฏิบัติ จึงต้องสังเกต ให้ดีว่า อาการพระไตรลักษณ์ อาการเกิดดับที่กาลังปรากฏขึ้นมา เปลี่ยนไป อย่างไร ?
และที่บอกว่า เมื่อเรารู้อาการเกิดดับไป สภาพจิตเราเป็นอย่างไร ? ส่วนที่พัฒนาขึ้นมาก็คือสภาพจิตที่เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าอาการเกิดดับของ อารมณ์ต่าง ๆ อาจจะคล้ายเดิม แต่ดูว่าสภาพจิตเปลี่ยนไปอย่างไร ที่จริง ถ้าสังเกตดี ๆ เราก็จะเห็น “ความแตกต่าง” ของอาการเกิดดับที่ปรากฏขึ้นมา ไม่ใช่ว่าแค่เร็วหรือช้า แต่รวมทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นความว่าง ความบาง ความใส ความสว่าง ความละเอียด หรือ เล็ก ใหญ่ เร็ว ช้า... พวกนี้เขา ต้องเปลี่ยนแปลงในตัวของเขาอยู่แล้ว
การที่ใช้คาว่า “อาการเกิดดับ เกิดดับแบบเร็ว ๆ” หมายถึงว่า อาการ เกิดดับต่อเนื่อง ถ้าอาการเกิดดับเกิดดับแบบช้า ๆ เกิดขึ้นมาแล้วค่อย ๆ ดับไป นาน... แล้วก็เกิดขึ้นใหม่แล้วค่อยดับไป ไม่ใช่ว่าอาการเกิดดับเกิดขึ้น แวบขึ้นมา แล้วก็หายไป สักพักแวบขึ้นมา แล้วก็ดับไป... ตรงนี้เราไม่ต้อง ใช้คาว่าช้าหรือเร็วก็ได้ ให้ใช้คาเหล่านี้เลย เกิดขึ้นมาแวบหนึ่ง ดับไป แล้วก็ “ว่าง” ไปแป๊บหนึ่ง เกิดขึ้นมาใหม่แวบหนึ่ง... “ช่องว่าง” ตรงนี้เราจะรู้ว่าเขา เร็วขึ้นหรือเขาสั้นลง แวบแล้วเขาดับ แวบใหม่ แวบใหม่ ตรงนั้น พอเร็วขึ้น เราก็บอกได้เองว่า เขาเกิดดับเร็วขึ้น ๆ จากนาน ๆ แล้วก็ถี่ขึ้น ๆ
ทาไมอาจารย์ถึงเน้นการเล่าสภาวะแบบนี้ ? นี่คือจุดสาคัญของการ ปฏิบัติ ถ้าเรามองข้ามอารมณ์เหล่านี้เมื่อไหร่ รู้แต่ว่ามีแล้วหมด มีแล้วหมด มีแล้วหมด สังเกตเวลาเราเล่า เล่ามีแล้วหมดอย่างเดียว กับเห็นชัดว่าเขา หมดในลักษณะอย่างไรในแต่ละขณะนี่ สภาพจิตต่างกันอย่างไร ? สติต่าง


































































































   507   508   509   510   511