Page 510 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 510

486
กันอย่างไร ? รายละเอียดในการพิจารณาสภาวะที่เกิดขึ้นหรือรายละเอียด ของสภาวะที่ปรากฏอยู่ต่างไปอย่างไร ? เพราะฉะนั้น บางครั้งเวลาเราเล่า สภาวะ อาจารย์ถึงถามว่า แล้วตรงนี้เป็นอย่างไร ? ส่วนนี้เป็นอย่างไร ? อาจารย์ถามสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ที่อาจารย์ถามนี่ ถามสภาวะที่ปรากฏขึ้นแล้ว แต่ทาไมเราตอบไม่ได้ ?
หนึ่ง เราเข้าใจว่าต้องทาให้มันเกิดใหม่ สอง ก็คือว่าไม่ได้ใส่ใจที่จะจา หรือไม่ค่อยสังเกตบริบทรอบข้าง องค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ อาการ จริง ๆ องค์ประกอบต่าง ๆ ตรงนั้นคืออะไร ? ก็คือเป็นจุดสาคัญทั้งสิ้น ถาม ว่า จิตดับด้วยไหม ? อันนี้อย่างหนึ่งซึ่งอาจารย์มักจะถามโยคีบ่อย ๆ สอง สภาพจิตใจเป็นอย่างไร ? สาม ต่อจากนั้นอาการเกิดดับเขาเปลี่ยนไป อย่างไร ? อาจารย์จะถามซ้า ๆ อยู่ประมาณนี้แหละ เพราะอะไร ? ทาไมถึง ถามซ้าแล้วซ้าอีก ?
เพราะว่าบางทีโยคีมาเล่าสภาวะ คาถามซ้าตรงนี้แหละไม่เคยเล่าหรือ เล่าข้ามไป หลักของการเล่าสภาวะอย่างหนึ่งก็คือ อย่าคิดว่าอาจารย์รู้แล้ว อาจารย์รู้แล้วแหละว่าสภาวะเป็นอย่างไร ถึงแม้อาจารย์จะบอกถูก แต่อยาก ให้โยคีเล่าให้ถูกมากกว่า ถ้าโยคีเล่าถูกจะมีความชัดเจนในตัวเอง ในสภาว- ธรรมที่เกิดขึ้น บางคนเล่าได้น้อยแต่เล่าตรงประเด็น บางคนเล่าได้เยอะแต่ ไม่ตรงประเด็น เพราะคิดว่าเล่าให้ได้มากที่สุดน่าจะดี ดีนะ เล่าให้ได้มาก น่ะดี จาให้ได้มาก ๆ ก็ดี ถ้าจาแล้วเล่าชัดตรงประเด็น ตรงจุด จะดีเลย!
อีกอย่างหนึ่ง สภาวะเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าคิดว่าไม่สาคัญกับ การเจริญสติของเรา สภาวะเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ปรากฏขึ้นมา เราต้องกาหนดรู้ คาว่า “สภาวะเล็ก ๆ น้อย ๆ” ตรงนี้หมายถึงว่า ขณะที่เรานั่งว่าง ๆ ไม่มีอะไร เกิด และมีอาการเกิดดับนิดหนึ่ง ๆ ๆ ในความว่าง จุดเล็ก ๆ นิดเดียว ๆ เดี๋ยวซ้ายทีขวาที เหมือนเส้นกระตุกตรงนั้นทีตรงนี้ทีในความว่าง อย่าคิด ว่านั่นไม่สาคัญ เพราะนั่นคืออาการเกิดดับของรูป เราต้องสังเกต เดี๋ยวแวบ


































































































   508   509   510   511   512