Page 508 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 508

484
ไม่ยินดียินร้าย ตอนนี้เฉยกับทุก ๆ อารมณ์... พอบอกว่าเฉยกับทุก ๆ อารมณ์ปุ๊บ จิตที่เฉยนั้นมีลักษณะอย่างไร ? รู้สึกนิ่ง รู้สึกสงบ หรือว่าเป็น อย่างไร ? ลองสังเกตดู นี่จะเป็นตัวสภาวะที่รองรับ เขาเรียกเป็น “องค์ธรรม” สภาวะที่รองรับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นลักษณะของจิตที่ปรากฏขึ้นมา ถ้าเราสังเกตดี ๆ ที่รู้สึกว่าง ๆ เงียบ ๆ แล้วตามมาด้วยเฉย ๆ ทีนี้ เฉยแบบ ไหน ? เฉยแบบมีกาลังหรือเฉยแบบไม่มีกาลัง ? เฉยแบบหนักแน่นมั่นคง ? นี่คือสิ่งที่ต้องสังเกต สภาพจิตที่เกิดขึ้น
และขณะที่เรากาหนดอาการเกิดดับ อย่างที่บอกว่า ยิ่งตามรู้อาการ เกิดดับ สภาพจิตใจรู้สึกอย่างไร ? ตื่นตัวมากขึ้น ใสขึ้น สว่างขึ้น หรือยิ่งนิ่ง ขึ้น ? พอยิ่งนิ่งมากขึ้น อาการเกิดดับเปลี่ยนไปอย่างไร ? เด็ดขาดมากขึ้น หรือดับแบบมีเศษ ? มีเศษก็คือ เวลาเขาดับปุ๊บ ดับแล้วเขาค่อย ๆ เลือน ๆ ๆ ยังไม่หมดก็เกิดใหม่ พอเราเห็นเขาแวบ แล้วก็เลือน ๆ ๆ ถ้าดับแบบเด็ด ขาด เรารู้ว่าดับเด็ดขาด ดับไม่เหลือเศษ ดับแล้วว่างสนิท ดับแล้วเงียบหาย เพราะฉะนั้น เมื่อกาหนดอาการเกิดดับแต่ละขณะ แต่ละครั้ง หรือแต่ละ อารมณ์ ให้มีเจตนาสังเกตดูว่า อาการเหล่านั้นเกิดดับในลักษณะอย่างไร ? และสภาพจิตเป็นอย่างไร ?
อีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่ต้องสังเกต สิ่งที่ต้องรู้ โดยที่เราไม่ต้องกังวลว่ามี พลังหรือไม่มีพลัง ต้องใช้พลังตัวไหนในการรับรู้ การปฏิบัติของเราพลังก็จะ เพิ่มเอง เมื่อไหร่เห็นอาการเกิดดับ แค่รู้จักนิ่ง เพิ่มความตื่นตัว หรือมีตัว มุ่ง มุ่งไปที่อาการเกิดดับ แค่นิ่ง จิตเราก็จะรู้สึกตั้งมั่น หนักแน่น มั่นคง เรา จะเรียกว่าพลังหรือไม่ก็ตาม แต่รู้สึกได้ถึงความหนักแน่นมั่นคง ความเด็ด เดี่ยวเด็ดขาดของเรา นั่นคือลักษณะของจิตที่ปรากฏขึ้นมา และขณะที่เรา ใช้ความรู้สึกที่หนักแน่นมั่นคงรับรู้อาการเกิดดับที่เกิดขึ้น อาการเกิดดับนั้น เปลี่ยนไปอย่างไร ? ดับแบบเด็ดขาดหรือว่าไม่เด็ดขาด ?
แม้แต่ความอ่อนโยน ถ้าสภาวะที่เกิดขึ้นบนความอ่อนโยน แล้วความ


































































































   506   507   508   509   510