Page 513 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 513

489
อย่างที่บอกไปมีหลายอย่าง ขยายบ้าง เข้าไปบ้าง อันนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือ พอไปรู้แล้วเห็นว่า อาการกระสับกระส่ายกับความรู้สึก ที่ทาหน้าที่รู้ เขาเป็นคนละส่วนกัน วิธีก็คือเอาความรู้สึก “ซ้อนเข้าไป” ที่ อาการกระสับกระส่าย คาว่า “ซ้อน” ก็คือซ้อน แค่ทาบเข้าไป แล้วเขาเปลี่ยน อย่างไร ? ซ้อนเข้าไป ไม่ใช่มุ่งเจาะเข้าไป คนละอย่างกัน! สมมติ อาการ กระสับกระส่ายกว้างเท่าบริเวณฝ่ามือ จิตเราก็ต้องกว้างเท่าฝ่ามือ แล้วก็ ซ้อนเข้าไป แล้วเขามีอาการอย่างไร ? อาการกระสับกระส่ายเริ่มจางลง เบา ไป ๆ ถ้าเขากว้างแค่ไหน ความรู้สึกเราก็กว้างเท่านั้น แล้วก็ซ้อนเข้าไปที่ อาการ ระดับความรู้สึกของเราเป็นหลัก ตรงนั้นแหละ
แล้วสังเกตดู พอเขาดับไปหมดไปแล้ว สภาพจิตเปลี่ยนไปอย่างไร ? ดีขึ้นอย่างไร ? อันนี้ต้องรู้ เขาเรียกมีเหตุมีผลด้วยตัวของเขาเอง เรารู้ว่า ทาแบบนี้เป็นแบบนี้ ทาอย่างนี้เป็นอย่างนี้ นี่แหละสิ่งที่โยคีจะต้องสังเกต หรือต้องใส่ใจ แล้วก็ต้องจาให้ได้ บอกตัวเองให้ได้ บางคนพอจาไม่ได้ ไม่ ใส่ใจที่จะจาต่อ เล่าตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อย ให้อาจารย์เรียบเรียงเอาเอง แล้วกัน! พออาจารย์บอกว่า เล่าข้างหน้าก่อนก็ได้ ข้างหลังก่อนก็ได้ หรือ เล่าตรงกลางก่อนก็ได้ รู้หรอกว่าปฏิบัติถึงไหน จาได้ อาจารย์ไม่ตัดบท
พอเขาเล่าจากสุดท้ายไปข้างหน้า พอเล่าจบ อาจารย์ให้การบ้านตอน ที่เขาเล่าตอนแรก จาไม่ได้แล้วตอนแรกเล่าอะไร สภาวะหลังสุดของตัวเอง นะ เพราะฉะนั้น ต้องจานะ! ถ้าเล่าย้อนหลังก็ต้องรู้ว่าสภาวะล่าสุดของ เราคืออะไร เราจะได้ไปทาต่อได้ถูก บางคนเล่าสภาวะสนุก กระโดดไป กระโดดมา ตื่นเต้น สนุกของเขาล่ะ! ลองฝึกจา ฝึกเรียบเรียง เขาเรียก “ใช้ตัวสัญญา” กาหนดจา ทาไมจาไม่ได้ ? สภาวะอย่างหนึ่งที่จะเหมือนกัน ก็คือ ทุกคนจะเจอว่า ทาไมจาไม่ได้เลย ? จะมีคาถามแบบนี้
บางสภาวะก็จะรู้สึก ทาไมจาไม่ได้!? จิตเรานิ่ง มันสั้น มันหายเร็ว เราก็จาไม่ได้ เมื่อก่อนก็เคยเจอ ถามท่านแม่ครู ท่านก็บอกตั้งใจ มีเจตนาที่


































































































   511   512   513   514   515