Page 62 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 62

38
เวทนาจึงเป็นแค่เวทนา เวทนาเขาก็เป็นอย่างนั้น แต่เมื่อไหร่ที่จิตเราเกิด ความอยาก ความไม่พอใจเกิดขึ้น ไม่พอใจที่จะกาหนดรู้ จิตก็จะเศร้าหมอง มีกิเลสปรากฏขึ้นมาทันที เป็นเพราะมีตัวตน มีความเป็นเราเกิดขึ้น
ความคิดก็เช่นเดียวกัน ความคิดเรื่องเดียวกัน แต่เมื่อไหร่ที่เกิดขึ้น มาโดยที่เราไม่พร้อมที่จะกาหนดรู้ เกิดขึ้นมาแล้วเราไม่อยากให้เกิด อยาก ให้เขาหายไป เราก็จะรู้สึกว่ามันวุ่นวาย จิตใจสับสน กระวนกระวาย ขุ่นมัว หงุดหงิด อึดอัด ปรากฏขึ้นมา นั่นคือสติเราอ่อน และเราไม่พอใจ ไม่พร้อม ที่จะกาหนดรู้ สภาพจิตเราก็จะพลอยขุ่นมัวเศร้าหมองไปด้วย แต่ถ้าเมื่อไหร่ ที่เรามีสติ และพร้อมที่จะกาหนดรู้ มีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับของเขา จิต เราจะไม่ขุ่นมัวไปกับความคิด จิตจะมีแต่ความสงบ ทาหน้าที่รู้เรื่องที่คิดที่ เกิดขึ้น ยิ่งถ้าจิตกว้างกว่าเรื่องที่คิด จิตก็ยิ่งเบา เพราะฉะนั้น ความขุ่นมัว เศร้าหมองก็ไม่เกิดขึ้น หรือความคิดนั้นไม่ทาให้จิตเราขุ่นมัว หรือเศร้าหมอง นี่อยู่ที่เจตนาทั้งสิ้น
เจตนาคือตัวกรรม แต่กรรมเหล่านี้ “เจตนาที่เราจะไปรู้อาการเกิด ดับของอารมณ์ต่าง ๆ” เขาเรียกว่าเป็น “กรรมฐาน” เอาอารมณ์ต่าง ๆ มา เป็นอารมณ์กรรมฐานในการปฏิบัติในการเจริญสติ ที่เป็นไปเพื่อความ ดับทุกข์ จึงเรียกว่าเป็นกรรมฐาน เพราะฉะนั้น เราเจริญกรรมฐานจึงเจริญ ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พูด คิด สนทนา ธรรม มีสติกาหนดรู้ถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น รู้ถึงการเกิดดับของอารมณ์ที่ เกิดขึ้น ตรงนั้นแหละเป็นอารมณ์กรรมฐานทั้งหมด นี่แหละคือสภาวธรรม วิธีการกาหนด เจริญสติ ที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เพื่อความพ้นทุกข์ สามารถทาได้ตลอดเวลา และทาได้ทุกคน เพียงแต่ได้มากได้น้อย ก็อยู่ที่ แต่ละคนว่าทามาก หรือทาน้อย
ทาน้อยอยากได้มาก ก็เป็นไปไม่ได้ อย่างเช่น วันหนึ่งเราปฏิบัติแค่ ชั่วโมงหนึ่ง แล้วเราก็อยากได้มากเหมือนคนปฏิบัติมาเป็นสิบปี มันก็เป็นไป


































































































   60   61   62   63   64