Page 63 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 63

39
ไม่ได้ ถ้าเราปฏิบัติวันหนึ่ง ๓ ชั่วโมง เราอยากให้ได้มากเหมือนคนปฏิบัติ มาสิบปี ก็เป็นไปได้ยาก แต่ถ้าปฏิบัติต่อเนื่องทั้งวัน ตื่นเช้าขึ้นมา ล้างหน้า แปรงฟัน ก็มีสติกาหนดรู้ พอตื่นขึ้นมาก็รู้ถึงอาการเคลื่อนไหว ล้างหน้าก็รู้ ถึงอาการสัมผัส จุดสัมผัสเวลาน้าถูกหน้าเป็นยังไง มีอาการอย่างไร
ขณะที่แปรงฟัน ก็กาหนดรู้ถึงอาการเคลื่อนไหวการแปรงฟันว่ามี อาการอย่างไร เกิดดับอย่างไร แปรงแบบมีตัวตนไหม หรือแปรงฟันอยู่ใน ที่ว่าง ๆ ขณะที่อาบน้า ก็รู้ว่าเวลาน้ากระทบถูกร่างกาย รู้สึกอย่างไร ความ เย็นที่ปรากฏขึ้นมา ขณะที่เราอาบน้ามีตัวไหม หรือไม่มีตัว มีแต่ความว่าง รู้แต่ความเย็นสัมผัส ปรากฏขึ้นมาแล้วก็จางหายไป เกิดขึ้นมาแล้วก็จาง หายไป นั่นคือรู้เวทนาที่ปรากฏขึ้นมา รู้ผัสสะ รู้เวทนา และพิจารณาถึง อาการเกิดดับของเขาไป เรากาหนดได้ตลอดเวลา
เวลาทานอาหาร เราก็กาหนดได้ ทานอาหารก็มีสติรู้อยู่กับอาการ เคี้ยวอย่างหนึ่ง หนึ่งก็คือ มีเจตนาที่จะมีสติอยู่กับอาการเคี้ยว ขณะที่เรา เคี้ยวอาหาร อารมณ์ที่ต้องกาหนดก็มีหลายอย่าง หนึ่ง.. จะรู้เฉพาะอาการ เคี้ยว ฟันกระทบกัน กระทบแล้วดับ กระทบแล้วดับ หรือจะไปรู้รสชาติของ อาหารว่าเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เกิดขึ้นแล้วดับอย่างไร หายอย่างไร อันนั้น ก็อีกอารมณ์หนึ่ง
และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเรามีเจตนา พิจารณาดูว่าอาการเคี้ยวอาหาร เคี้ยวอยู่ในบรรยากาศแบบไหน เคี้ยวอยู่ในที่ว่าง ๆ ? เคี้ยวอยู่ในความ ว่าง ? เคี้ยวอยู่ในความเบา ? เคี้ยวอยู่ในความสงบ ? อันนี้ก็อีกอย่างหนึ่ง หรือขณะที่กลืนอาหาร พิจารณาดูว่าอาหารที่กลืนลงไปเข้าไปที่ไหน เข้าไป ตามลาคอ ? เข้าไปในลาไส้ ? เข้าไปที่กระเพาะ ? หรือว่าเข้าไปในที่ว่าง ๆ ? ไหลลงไปในที่ว่าง ๆ ? อันนี้ก็คืออีกจุดหนึ่งที่เราจะพิจารณาได้
การกาหนดรู้อย่างนี้ทาให้สติเรามีความต่อเนื่องตลอดเวลา ความ เพียรที่มีความต่อเนื่องอย่างนี้ เขาเรียกว่า “ปฏิบัติแบบเป็นลูกโซ่” สติเรา


































































































   61   62   63   64   65