Page 76 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 76

52
ขณะที่รูปหายไป เหลือแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ กับอาการเคลื่อนไหวที่ปรากฏขึ้น หรืออาการเกิดดับที่ปรากฏขึ้นอยู่เฉพาะหน้าของเรา จุดหนึ่งที่นักปฏิบัติ พึงพิจารณาก็คือว่า ขณะที่กาหนดรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง ถึงอาการเกิดดับ ที่ปรากฏเฉพาะหน้าอยู่นั้น ขณะนั้นมีความรู้สึกว่าเราเป็นผู้กาหนด หรือ มีแต่ “ความรู้สึก” หรือ “จิต” ที่ทาหน้าที่กาหนดรู้อาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น การพิจารณาในลักษณะอย่างนี้ เราจะเห็นถึงว่า อาการต่าง ๆ ที่ปรากฏ ขึ้นมาให้เรากาหนดรู้นั้น เป็นอาการที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตน เป็นอัตตาหรือ อนัตตา
คาว่า “มีตัวตน หรือ ไม่มีตัวตน” ไม่ใช่หมายความว่าไม่มีตัว แต่ หมายถึงว่า “ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา” เป็นผู้กาหนดรู้ มีแต่ “จิต” ที่ทา หน้าที่รู้เท่านั้น... “มีแต่จิตที่ทาหน้าที่กาหนดรู้อาการที่เกิดขึ้น มีแต่จิตที่ทา หน้าที่รู้อาการตั้งอยู่ มีแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้อาการนั้นดับไป” ถ้าเราพิจารณารู้ อย่างนี้ แล้วกาหนดรู้ถึงความมีตัวตน หรือไม่มีตัวตนในขณะกาหนดอาการ ที่เกิดขึ้น
ถ้าพิจารณาดูจิตอีกทีหนึ่งก็คือว่า “จิตที่ไม่มีตัวตน” ในขณะกาหนด รู้อาการเกิดดับที่ปรากฏอยู่แฉพาะหน้าเรานั้น “สภาพจิตใจ” ขณะนั้นเป็น อย่างไร.. สภาพจิตใจขณะนั้นรู้สึกผ่องใส สภาพจิตใจขณะนั้นรู้สึกสงบ สภาพจิตใจขณะนั้นรู้สึกว่าง สภาพจิตขณะนั้นรู้สึกเบา สภาพจิตขณะนั้นมี กิเลสหรือไม่มีกิเลสเกิดขึ้น มีโมหะเกิดขึ้นหรือไม่ มีตัวโทสะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีตัวโลภะปรากฏขึ้นมาหรือไม่ หรือมีแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ จิตที่เป็นกลาง รู้ตามความเป็นจริงของอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น สิ่งเหล่านี้นักปฏิบัติจะต้อง พิจารณากาหนดควบคู่กันไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะกาหนดอาการไหนก็ตาม ไม่ ว่าจะเป็นกาหนดลมหายใจเข้าออก กาหนดอาการเวทนา กาหนดอาการ พองยุบ ก็ให้พิจารณาในลักษณะเดียวกัน
คาว่า “เวทนา” คือ อาการเจ็บ อาการปวด อาการเมื่อย อาการชา


































































































   74   75   76   77   78