Page 78 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 78

54
กาหนดรู้อย่างนี้ เพื่ออะไร ? เพื่อเราจะได้รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรม ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการกาหนดรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน ไม่มีความหลง เข้าไปคิดว่า รูปเป็นของเรา เวทนาเป็นของเรา สัญญาเป็นของเรา สังขารเป็น ของเรา เมื่อไหร่ก็ตามที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาขันธ์เหล่านั้นว่าเป็นของเรา ก็จะทาให้เกิดความทุกข์ เกิดความกระวนกระวาย
มีอย่างหนี่งที่นักปฏิบัติพึงพิจารณาก็คือว่า เรามาปฏิบัติ เรากาหนด สภาวธรรม เป็นไปเพื่อการละ.. ละอะไร ? ก็คือละกิเลส ละโลภะ ละโทสะ หรือละโมหะ เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ที่สภาวธรรมใดสภาวธรรมหนึ่งเกิดขึ้น อย่างที่กล่าวมา เมี่อมีเวทนาเกิดขึ้น แล้วเรามีความอยาก เมื่อมีเราเกิดขึ้น แล้วก็มีความอยาก ความอยากที่เกิดขึ้นนี้เป็นอยากประเภทไหน ? ไม่มี ความอยากได้เวทนานั้น แต่ก็อยากให้เวทนานั้นหายเร็ว ๆ หรือไม่อยากให้ เวทนาเกิด อันนี้ก็เป็นความอยากอย่างหนึ่ง
อยากให้มี อยากให้เป็น แล้วก็อยากให้หายไป หรือว่าไม่อยากให้ เกิด เมื่อมีความอยากทั้ง ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้เกิดขึ้น แม้ความ รู้สึกไม่อยากให้เกิด ก็จะเป็นตัว “ตัณหา” อย่างหนึ่ง เป็นการปฏิเสธอารมณ์ แล้วก็มีตัวตนเกิดขึ้น เมื่อไม่อยากให้เกิด จิตก็จะเศร้าหมอง เมื่อไม่อยาก ให้เกิดแล้วเวทนายังเกิด อยากให้หายแล้วเวทนาไม่หาย เมื่อไม่เป็นอย่างที่ ปรารถนา “ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น” ก็จะทาให้จิตกระสับกระส่าย วุ่นวาย หดหู่ เศร้าหมอง ขุ่นมัว นั่นคือลักษณะของกิเลส
ลักษณะของกิเลสคือ ความขุ่นมัว ความเศร้าหมอง เมื่ออารมณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้น แล้วรับรู้อย่างมีตัวตน ทาให้เกิดความขุ่นมัว เศร้าหมอง เพราะฉะนั้น ถ้าเวทนาเกิดขึ้น แล้วเรากาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน “ไม่มีเรา” เป็นผู้เข้าไปกาหนดรู้ มีแต่ “จิต” ที่ทาหน้าที่รู้เวทนาที่เกิดขึ้น เวทนาที่ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีรูปร่างเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นเส้น เป็นแผ่น หรือ กระจัดกระจายก็ตาม ถ้ากาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน ไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง


































































































   76   77   78   79   80