Page 79 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 79

55
ถึงแม้เวทนานั้นจะมีกาลังมากเพียงใดก็ตาม เมื่อเวทนานั้นไม่ทาให้กิเลสเกิด ก็ไม่ต้องไปกังวล..
ถ้าเวทนานั้นไม่ทาให้กิเลสเกิด ไม่ทาให้จิตเราเศร้าหมอง แต่รู้ถึง เวทนาที่แก่กล้า ถ้าเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องไปกังวลอะไรเลย เพราะเวทนาเขา ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ถ้าเวทนานั้นไม่ทาให้จิตเราเศร้าหมองหรือกิเลสเกิด ได้ ถือว่าเรายังมีสติ เรามีปัญญา กาหนดรู้ได้เท่าทันเวทนาว่า เวทนาก็สัก แต่เวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เวทนาทางกายก็เป็นไปตาม เหตุปัจจัยของเขา
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อกาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตนอย่างนั้น รู้ชัด ถึงว่าเวทนาไม่เป็นของเรา ไม่มีเรา ไม่มีเขา ต่อไปสิ่งที่นักปฏิบัติพึงพิจารณา ก็คือว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง ตั้งอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ เกิดขึ้น แปรปรวน เปลี่ยนแปลง และตัวเวทนาเองก็ตั้งอยู่ในกฏของความเป็นทุกขัง คือตั้งอยู่ ในกฏของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่สามารถตั้งอยู่อย่างนั้นได้ ตลอดเวลา เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป มีแล้วหายไป ลักษณะของทุกขัง เป็น ทุกขลักษณะ มีลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป “เกิดแล้ว ต้องดับ” ไม่มีอะไรตั้งเที่ยงแท้แน่นอน ตั้งอยู่ถาวรอย่างนั้นตลอดไป
เพราะฉะนั้น เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ให้เราพอใจที่จะกาหนดรู้ถึงการ เกิดดับของเวทนา หรือทุกขลักษณะของเวทนา ที่เกิดขึ้นแล้วต้องดับ เพียง แต่ว่าอาการเกิดดับที่เกิดขึ้นมานั้น อาจจะไม่เป็นอย่างที่เราต้องการ เมื่อเรา มีเวทนามาก ก็อยากให้เขาดับเร็ว ๆ แต่ถ้าไม่มีความอยากตรงนั้น เรา พอใจที่จะกาหนดถึงการเกิด การตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เราก็จะเห็นว่าเวทนา มีแล้ว.. เดี๋ยวดับ เดี๋ยวพอง เดี๋ยวบาง เดี๋ยวจาง แล้วก็ค่อยหายไป เลือนไป แล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่ นั่นคือลักษณะอาการเกิดดับของเขา
และอีกจุดหนึ่ง.. อย่างที่กล่าวมาแล้วก็คือว่า ลักษณะของความ เป็นอนัตตาของเวทนาอย่างหนึ่ง นอกจากเวทนานั้นไม่บอกว่าเป็นเราเป็น


































































































   77   78   79   80   81