Page 81 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 81

57
ว่าเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นกับจิต เป็นคนละส่วนกัน อีกสิ่งหนึ่งที่นักปฏิบัติ ควรพิจารณาก็คือว่า เมื่อมีเวทนาเหล่านั้นเกิดขึ้น จิตที่ทาหน้าที่รู้ หรือสภาพ จิตขณะนั้นเป็นอย่างไร ขณะที่เห็นว่าเวทนากับจิตเป็นคนละส่วนกัน ให้เรา มาพิจารณาสภาพจิต หรือจิตใจขณะนั้นว่ารู้สึกอย่างไร.. รู้สึกสงบ รู้สึกใส หรือว่ามีความตั้งมั่น มีความตื่นตัวยิ่งขึ้น นี่คือการพิจารณาสภาวธรรมใน ขณะที่กาหนดอาการเกิดดับของเวทนา
และอีกอย่างหนึ่ง เพื่อความละเอียดยิ่งขึ้นในขณะที่กาหนดรู้เวทนา นั้น เมื่อเห็นว่าเวทนามีการเปลี่ยนแปลง มีการเกิดดับอยู่เนือง ๆ นักปฏิบัติ ต้องพิจารณาดูว่า การเกิดดับของเวทนาในแต่ละขณะนั้น มีความต่างกัน อย่างไร... เกิดดับเร็วขึ้น หรือช้าลง เบาลง เกิดดับในลักษณะแตกกระจาย หรือเกิดดับแบบจุด ๆ ไป หรือว่าปรากฏขึ้นมาแล้วดับเลย อันนี้สิ่งหนึ่งที่ นักปฏิบัติจะต้องพิจารณาถึงลักษณะของอาการพระไตรลักษณ์ คือการเกิด ขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของเวทนาที่ปรากฏขึ้นมา
และอีกจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วยเสมอก็คือว่า เมื่อเห็นว่า เวทนามีการเกิดดับ ให้กาหนดรู้ว่าจิตที่เข้าไปกาหนดรู้ถึงอาการของเวทนา นั้นเป็นอย่างไร ขณะที่เวทนาดับแต่ละครั้ง จิตที่เข้าไปรู้ดับด้วยหรือไม่ “จิต ที่เข้าไปรู้ ดับไปกับเวทนาหรือไม่ ในแต่ละขณะ แต่ละขณะ” ให้พิจารณา อย่างนั้น ตรงนี้หมายถึงว่าเรากาหนดรู้อาการเกิดดับของนาม นามตัวหนึ่ง เรียกว่า “เวทนา” นามอีกตัวหนึ่งคือ “จิตที่ทาหน้าที่รู้ถึงเวทนา” เพราะฉะนั้น เวทนาทางกายเกิดขึ้น ดับไป จิตที่เข้าไปรู้ดับไปด้วยหรือไม่ อันนี้ควรจะ กาหนดควบคู่กันไปด้วยเสมอในขณะที่กาหนดเวทนา
การกาหนดอารมณ์อื่นก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน อย่างเช่น ขณะ ที่กาหนดเวทนา มีความคิดเกิดขึ้นมา เวทนาหายไป อาการของลมหายใจ ก็หายไป อาการพองยุบก็ไม่มี มีแต่ “ความคิด” อย่างเดียว การพิจารณา ความคิดมีสองส่วน เริ่มต้นก็พิจารณาในลักษณะเดียวกันกับการพิจารณา


































































































   79   80   81   82   83