Page 77 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 77

53
อาการคัน เมื่อเวทนาปรากฏขึ้นมา ก็ต้องกาหนดรู้ถึงความเป็นคนละส่วน หรือกาหนดรู้ว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับเวทนาที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นส่วนเดียวกัน หรือคนละส่วน การกาหนดรู้ คือเข้าไปดูให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ขณะ นั้นจิตที่ทาหน้าที่รู้กับเวทนาที่เกิดขึ้น เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน
เมื่อพิจารณาอย่างนี้ ต่อไป..ก็ให้ไปดูที่จิตที่ทาหน้าที่รู้เวทนาว่าเป็น อย่างไร ขณะที่รู้เวทนาอยู่นั้น มีความรู้สึกว่า “เรา” เป็นผู้ทาหน้าที่รู้เวทนา หรือมีเพียง “จิต” ที่ทาหน้าที่รู้เวทนาเท่านั้น อันนี้คือการกาหนดรู้ว่า ขณะที่ รับรู้อาการของเวทนานั้น ในขณะนั้นเรามีตัวตนหรือไม่ “เรามีตัวตนหรือไม่” ตรงนี้เป็นสิ่งสาคัญมาก ๆ เพราะการกาหนดรู้อารมณ์ต่าง ๆ ถ้ามีตัวตนเข้า ไปประกอบ มีความรู้สึกว่า “เรา” เป็นผู้รู้ เป็นผู้ดู เป็นผู้เห็น หรือเป็นผู้ เป็นเอง ก็จะทาให้สภาพจิตเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้ากาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน ก็จะทาให้สภาพจิตใจเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติหรือโยคีพึง กาหนดรู้ให้ชัด เพราะอะไร ? เพราะว่าถ้าเรากาหนดรู้ชัดว่า ขณะที่ตามรู้ เวทนานั้น มีตัวตนหรือไม่มีตัวตน เราจะแก้ไขหรือพัฒนาไปได้
อย่างเช่น ถ้าเรารู้ว่า ขณะที่ตามรู้อาการของเวทนาอยู่นั้น มีเราเป็นผู้ ดู มีเราเป็นผู้รู้ มีเราเป็นผู้เห็น และเมื่อขณะที่มีเราเป็นผู้รู้ มีเราเป็นผู้ดู มี เราเป็นผู้เห็นนั้น ขณะนั้นทาให้สภาพจิตใจเราเป็นอย่างไร ทาให้สภาพจิตใจ ขณะนั้นรู้สึกหนัก อึดอัด ทรมาน กระวนกระวาย.. อันนั้นเราจะรู้ชัด เมื่อเป็น อย่างนั้น สาเหตุเกิดจากว่า เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ขณะที่เข้าไปรู้เวทนานั้น มี “เรา” เป็นผู้รู้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ให้ดับความรู้สึกว่าเป็นเราเสีย ดับ “ความ รู้สึกว่าเป็นเรา” ให้เหลือเพียง “จิต” ที่ทาหน้าที่รู้เวทนา และให้มีเจตนาที่จะ เข้าไปรู้อาการเกิดดับของเวทนาที่ปรากฏขึ้น
อีกจุดหนึ่งที่พึงพิจารณาพึงกาหนดรู้ก็คือว่า เมื่อแยกจิตกับเวทนา ออกจากกันได้แล้ว ให้พิจารณาว่า เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดอยู่ที่ไหน เกิด อยู่ที่หัวเข่า เกิดอยู่ที่ไหล่ เกิดอยู่ที่ใจ หรือเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ การพิจารณา


































































































   75   76   77   78   79