Page 89 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 89

65
ถึงบอกว่าอย่างหนึ่งที่ต้องรักษาก็คือ “สภาพจิตใจ” น้าท่วมเราก็ เครียด แต่ละคนก็เครียด น้าท่วมหมดแล้ว ไปไหนไม่ได้ แต่คิดในแง่บวก คิดดีนิดหนึ่ง น้าท่วมชั้นล่าง ชั้นบนยังอยู่ได้ ก็อยู่ไปก่อน คงท่วมไม่นาน หรอก ไม่กี่วันเดี๋ยวก็แห้งแล้ว ถ้าคิดอย่างนี้ก็จะไม่วุ่นวายมากนัก.. กลัว ไม่มีอาหารจะทานกัน ก็กักตุนอาหารกัน กลัวมาก ๆ กลัวธรรมชาติ
ภัยจากธรรมชาติเราคาดเดาไม่ได้ คาดเดายาก รู้แล้วก็ยังป้องกัน ได้ยากถ้าภัยธรรมชาตินั้นมีกาลังมาก ไม่ว่าจะเป็นพายุ เป็นไฟ เป็นน้า เรา ป้องกันได้ยาก ขนาดบ้านเมืองเขาที่เจอพายุบ่อย ๆ ก็ยังป้องกันยากเลย มา ทุกครั้งก็ถล่มทุกครั้ง นั่นคือภัยธรรมชาติ ความรุนแรงที่เกินกาลังเพราะ คาดเดาไม่ได้ ภัยธรรมชาตินี้มีอยู่ทุกยุคสมัยนั่นแหละ จะมากจะน้อยต่าง กันแค่นั้นเอง สมัยไหนเกิดขึ้นที่ตรงไหน จะเกิดที่ไหนของโลกเท่านั้นเอง
แต่ภัยอย่างหนึ่งที่เราต้องผจญ หรือต้องแก้ไขก็คือ “ภัยที่เกิดกับใจ ของเรา” ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่เข้ามา อารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามา กระทบจิตใจของเรา ความไม่พอใจ ไม่สบายใจ ความหงุดหงิดใจ ความ ราคาญใจที่เกิดขึ้น ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับใจ เป็นภัยที่เกิดทางใจ พระ- พุทธเจ้าบอกว่า สิ่งที่ร้อยรัดสัตว์ให้เกี่ยวข้องอยู่กับโลกนี้ก็คือ “ตัวกิเลส” ที่ เป็นตัวโลภะ โทสะ โมหะ ทาให้เราเกี่ยวข้องอยู่กับโลกนี้ เวียนว่ายตายเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วที่สุดเราก็เจอภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก
พระพุทธเจ้าสอนให้เราปฏิบัติธรรมพิจารณาธรรม เพื่อความหลุด พ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อเข้าสู่มรรคผลนิพพาน หมายถึงว่าดับ ขันธปรินิพพานไป พอถึงตายแล้ว ก็เข้าสู่นิพพาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด มาเจอกับภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเกิดยุคสมัยไหนก็ตาม ภัยที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจาวันของเรา... การเจ็บไข้ได้ป่วย การเกิดแก่เจ็บตาย ก็เกิดอยู่เนือง ๆ ทุกวัน เห็นอยู่ทุกวัน ไม่ว่าคนนั้นจะอายุมากอายุน้อยแค่ไหนก็ตาม ภัย เหล่านี้ก็เกิดได้ เกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดา เกิดอยู่ในวัฏสงสาร ตั้งอยู่


































































































   87   88   89   90   91