Page 90 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 90

66
ในกฏของไตรลักษณ์ เพียงแต่จะมาในรูปแบบไหนเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น ช่วงที่เรายังมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง มีจิตใจที่ เข้มแข็ง จงหมั่นเพียรพิจารณาหาทาง เพื่อที่จะดับทุกข์ให้สิ้นเชิง การ พิจารณา การกาหนดรู้ดูสภาวธรรม เพื่อที่จะดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง เพื่อให้ เราเกิดปัญญา เข้าใจธรรมชาติ แล้วไม่ทุกข์กับสภาวธรรมที่เกิดขึ้น หรือ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็คือพิจารณาอาการของรูปนาม อาการของขันธ์ห้า อาการของร่างกายของจิตใจของเราที่อยู่ปัจจุบันนี้แหละ ขณะนี้ที่เรากาลัง
นั่งอยู่ ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ การพิจารณารู้ตามความเป็นจริงของรูปนามขันธ์ห้าอันหนึ่งว่า “มี
อะไรบ้างเป็นของเรา ?” รูปบอกว่าเป็นเราหรือไม่ ? เวทนาบอกว่าเป็นเรา หรือไม่ ? สัญญาบอกว่าเป็นของเราหรือไม่ ? สังขารบอกว่าเป็นของเราหรือ ไม่ ? วิญญาณเขาบอกว่าเป็นเราหรือไม่ ? จิตที่ทาหน้าที่รู้เอง เขาบอกว่า เป็นเราหรือเปล่า หรือเขาทาหน้าที่รู้อย่างเดียว ? จิตที่ทาหน้าที่รู้ ทาหน้าที่ รู้อย่างเดียว ไม่ได้บอกว่าเป็นใคร จะมีเราหรือไม่มีเรา เขาก็รู้ สังเกตไหม.. มีตัวตนหรือไม่มีตัวตน จิตก็ยังทาหน้าที่รู้อยู่ เพราะฉะนั้น จิตจึงเกิดขึ้นมา ด้วยเหตุปัจจัย ธรรมชาติของเขาจริง ๆ คือทาหน้าที่รู้ จะมีตัวตนหรือไม่มี ตัวตน เขาก็รับรู้ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจะดีหรือไม่ดี เขาก็รับรู้ เพราะหน้าที่ของ เขาคือทาหน้าที่รู้ เขาเรียก “วิญญาณรู้”
ทีนี้ รู้ที่ประกอบด้วยปัญญา รู้อย่างไหน ? รู้ด้วยเหตุ รู้ด้วยผล รู้ แบบมีเหตุมีผล รู้อย่างไม่มีตัวตน รู้อย่างไม่มีตัวตน รู้อย่างไร ? สังเกตดูว่า ถ้าเรารับรู้อารมณ์อะไรก็ตาม รู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน อารมณ์เหล่านั้น มากระทบจิตใจได้หรือไม่ ? ถ้ารับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน อารมณ์ เหล่านั้นจะมีอิทธิพลต่อเราหรือไม่ ? ถ้ารับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน อารมณ์เหล่านั้นบีบคั้นจิตใจเราได้หรือไม่ ? ถ้ารับรู้อย่างไม่มีตัวตน อารมณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาตั้งอยู่นาน


































































































   88   89   90   91   92