Page 139 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 139
135
2.1 องค์ประกอบและโครงสร้ำงของโปรตีน
โปรตีนประกอบด้วยธาตุสําคัญ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน
ไนโตรเจนและออกซิเจน โดยมี มะถัน ฟอสฟอรัสและเหล็ก อยู่บ้าง
โปรตีนเป็นพอลิเมอร์ขนาดใหญ่ เกิดจากโมเลกุลของกรดอะมิโน Amino
Acid) จํานวนมากมาสร้างพันธะเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็นสายยาว โดย
กรดอะมิโนมีลักษณะ เป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันทั้งที่
เป็นหมู่อะมิโน มีสมบัติเป็นเบสและหมู่คาร์บอกซิล ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด
หมู่อะมิโนและหมู่บอกซิลจะมีการสร้างพันธะเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวจน
เกิดเป็น โมเลกุลของกรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนเหล่านี้ยึดเหนี่ยวกันด้วย
พันธะเพปไทด์ (Peptide Bond) ซึ่ง เป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างหมู่คาร์
บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนแต่ละโมเลกุล โปรตีนมีสมบัติ เป็น
คอลลอยด์ เมื่อแยกสลายโปรตีน จะได้กรดอะมิโน
2.2 ชนิดของกรดอะมิโน
กรดอะมิโน (Amino Acid) เป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซิล
(COOH) และหมู่อะมิโน (NH) รวมอยู่ในโมเลกุลเดียวกัน เมื่อเราบริโภค
อาหารที่มีโปรตีน โปรตีนเหล่านั้นจะถูกย่อยสลาย จนกระทั่งกลายเป็น
กรดอะมิโน แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อนําไป
สังเคราะห์โปรตีน ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น กรดอะมิโนทุกชนิด
จึงมีความสําคัญและจําเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากร่างกายของ
เราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้เอง 12 ชนิด ส่วนอีก 8 ชนิดเป็น