Page 14 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 14
10
เท่ากัน ถ้ามียีนควบคุมสีแดงมากขึ้น สีของเมล็ดข้าวสาลี ก็จะเข้มขึ้น
ตามลําดับ
3. โครโมโซม
3.1 โครโมโซม
โครโมโซม (Chromosome) เป็นโครงสร้างพันธุกรรมที่เป็นที่อยู่
ของยืนหรือหน่วยพันธุกรรม มีหน้าที่ถ่ายทอดและแสดงข้อมูลทาง
พันธุกรรมอยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ โดยโครโมโซมของ เซลล์ร่างกาย
จะเหมือนกันเป็นคู่ ๆ ทั้งรูปร่าง ขนาด และการเรียงตัว ยีนที่อยู่บน
ตําแหน่งเดียวกันของ โครโมโซมที่คู่กันจะกําหนดลักษณะทางพันธุกรรม
ลักษณะเดียวกัน โครโมโซมประกอบด้วย ดีเอ็นเอ (Deoxy-ribonucleic
Acid : DNA) มีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นสาย เรียกว่า โครมาติน
(Chromatin) ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมจะขดตัวจนมีลักษณะเป็น
แท่ง แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยโครมาทิด (Chromatid) 2 เส้น ซึ่ง
เกาะเกี่ยวกันที่เซนโทรเมียร์ (Centromere)
3.2 องค์ประกอบของโครโมโซม
โครโมโซมประกอบด้วย DNA กับโปรตีนประเภทฮิสโทน
(Histone) โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตในระยะอินเตอร์เฟส จะเรียกว่าร่างแห
โครมาตินเพราะมีลักษณะโปร่งแสง เห็นได้ชัดด้วยการย้อมสี เมื่อมีการ
แบ่งเซลล์ร่างแหโครมาตินจะมีการหดตัวสั้นจนโครโมโซมมีลักษณะเป็น