Page 150 - การให้รหัสโรค
P. 150
139
รหัสแรกเลือกเป็นบทที่ 19
รหัสสาเหตุที่ได้รับยา
รหัสที่ได้จากตารางยาและสารเคมีเป็นเพยงรหัสสามตำแหน่งแรกเท่านั้น และลงท้ายด้วย
ี
สัญลักษณ์ .- ยังคงต้องตรวจสอบรหัสตำแหน่งที่ 4 (สถานที่เกิดเหตุ) และ 5 (กิจกรรมในระหว่างเกิด
เหตุ) จากหนังสือเล่มที่ 1 เพื่อให้ได้รหัสที่สมบูรณ์ต่อไป
การเลือกใช้รหัสจากตารางยาและสารเคมี จะต้องเลือก 2 รหัสเสมอ โดยเลือกรหัสแรกคือ
ช่องที่มีข้อความว่าด้านบนว่า Chapter XIX ส่วนที่สอง ต้องเลือกรหัสที่เหลือทั้งหมดมาเพียงรหัสเดียว
โดยให้พจารณาว่า ผู้ป่วยได้รับยาหรือสารเคมีมาอย่างไร เช่น กินยาฆ่าตัวตาย ควรเลือกรหัสในที่มี
ิ
ุ
ข้อความด้านบนว่า Intentional Self Harm หรืออบัติเหตุจากการใช้ยา ให้เลือกรหัสในที่มีข้อความ
ด้านบนว่า Accident
กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยกินยา Acemorphan เข้าใจผิดว่าเป็นยา Paracetamol ผู้ให้รหัส ICD-
10 ควรเปิดหาชื่อยาในตารางยา แล้วเลือกรหัส T40.2 (อยู่ในช่อง Chapter XX) มาคู่กับรหัส X42.-
(อยู่ในช่อง Accidental) จะทำให้ได้รหัสผู้ป่วยรายนี้ 2 รหัส คือ T40.2 และ X42.- ตามเกณฑ์ของ
ICD-10
การให้รหัสโรคกรณีผู้ป่วยเนื้องอกและมะเร็ง
ิ
สำหรับการให้รหัสโรคกรณีผู้ป่วยเนื้องอกและมะเร็ง มีลักษณะพเศษที่ไม่เหมือนกับการให้
รหัสในโรคอื่นๆ อยู่ 2 ลักษณะดังนี้
1. ใช้รหัส 2 ระบบร่วมกัน คือ รหัส ICD-10 และ ICD-O
2. มีเครื่องมือเสริมพิเศษช่วยให้ค้นหารหัสได้ง่ายขึ้น
รหัส 2 ระบบที่นำมาใช้ในการให้รหัสโรคกรณีผู้ป่วยเนื้องอกและมะเร็ง คือรหัส ICD-O ซึ่งจะ
ปรากฏอยู่ส่วนท้ายของหนังสือเล่มที่ 1 โดยรหัส ICD-O นี้จะเน้นลักษณะเชลล์ที่พบในก้อนเนื้องอก
ื่
หรือมะเร็งของผู้ป่วยเป็นหลัก จึงสามารถนำมาใช้เสริมในการให้รหัสเพอให้ได้ข้อมูลครบถ้วนทุกแง่มุม
ของการให้รหัสโรคมะเร็ง
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ