Page 212 - การให้รหัสโรค
P. 212
201
ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อของแผล ที่เกิดจากการบาดเจ็บ ให้ใช้รหัส T79.3 Post-
traumatic wound infection, not elsewhere classified คู่กับรหัสสาเหตุภายนอก
ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อของแผลที่เกิดจากโรคผิวหนัง โรคหลอดเลือด
โรคเบาหวาน หรือแผลกดทับ ให้เลือกรหัสการวินิจฉัยที่เหมาะสมดังตารางต่อไปนี้
ตาราง 7.11 การให้รหัสแผลติดเชื้อ
Diagnosis Codes
Wound infection T79.3
Necrotizing fasciitis M72.6
Post-traumatic wound infection T79.3
Osteomyelitis M86.-
DM, type 2 with peripheral circulatory complication E11.5
DM Foot E14.9
Varicose vein of lower extremities with both ulcer and I83.2
inflammation
Pyoderma L08.0
Local infections of skin and subcutaneous tissue L08.8
Local infection of skin and subcutaneous tissue L08.9
Decubitus ulcer L89.-
Gangrene R02
ดังนั้น ในกรณีที่แพทย์บันทึกการวินิจฉัยแต่เพยง wound infection ผู้ให้รหัสจำเป็นต้อง
ี
ตรวจสอบข้อมูลในเวชระเบียนและปรึกษาแพทย์ผู้รักษาให้วินิจฉัยให้ละอยดขึ้น หากไม่สามารถ
ี
ปรึกษาได้ หรือไม่พบข้อมูล ให้ใช้รหัส T79.3 Post-traumatic wound infection, not elsewhere
classified คู่กับรหัสสาเหตุภายนอกที่เหมาะสม และในกรณีที่ไม่มีข้อมูลสาเหตุภายนอก ให้ใช้รหัส
X59.99 Exposure to unspecified factor at unspecified place, unspecified activity เป็น
รหัสสาเหตุภายนอก
การให้รหัสกลุ่มกรณีรับ refer มารักษาต่อ
เกณฑ์การให้รหัส
1. กรณีเป็น medical case เช่น Pneumonia Sepsis ต้องมาฉีดยาต่อ มีการประเมินที่ชัดเจน
ว่าผู้ป่วยเป็นโรคนั้นจริง และมารักษาต่อเนื่อง ให้ภาวะนั้นๆ เป็นวินิจฉัยโรคหลัก
2. กรณีเป็น surgical case ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดจนภาวะนั้นๆ สิ้นสุดแล้ว แบ่งเป็น
o ถ้ายังต้องมีการดูแล ทำหัตถการอยู่ เช่น ทำแผล ให้สรุปการวินิจฉัย Follow-up
care ( Z42.- - Z48.-) เป็นวินิจฉัยโรคหลัก โดยไม่ต้องสรุปการวินิจฉัยโรคเดิมที่ได้
รักษาไปแล้ว
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ