Page 12 - Sanantinee Thirawut
P. 12
พยัญชนะไทยมีเสียงวรรณยุกต์ก ากับแตกต่างกัน จึงแบ่ง
พยัญชนะตามการออกเสียงเป็น 3 หมู่ หรือเป็นระบบไตรยางศ์ได้ดังนี้
•อักษรกลำง เป็นพยัญชนะที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสามัญ มี 9 ตัว
ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป และ อ
•อักษรสูง เป็นพยัญชนะที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงจัตวา มี 11 ตัว ได้แก่
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส และ ห
•อักษรต่ ำ เป็นพยัญชนะที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสามัญเช่นเดียวกับ
อักษรกลาง แต่มีหลักการผันวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ
ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ และ ฮ ซึ่งได้แบ่ง
อักษรต่ าเป็นอักษรต่ าคู่ กับอักษรต่ าเดี่ยว ดังนี้
อักษรต่ ำคู่ คืออักษรต่ าที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว 7 เสียง ได้แก่
ค, ฅ, ฆ (ข,ฃ) ช, ฌ (ฉ) ซ (ศ, ษ, ส) ฑ, ฒ, ท, ธ (ฐ, ถ) พ, ภ (ผ) ฟ (ฝ)
และ ฮ (ห)
อักษรต่ ำเดี่ยว คืออักษรต่ าที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีทั้งสิ้น 10 ตัว
ได้แก่
ง, ญ, ณ, น, ม, ย, ร, ล, ว และ ฬ
ค ำเป็น ค ำตำย
ค ำเป็น คือค าที่ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา และค าที่อยู่ในแม่
กง แม่กน แม่กม แม่เกย และแม่เกอว
ค ำตำย คือค าที่ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา และค าที่อยู่ในแม่
กก แม่กด และแม่กบ