Page 15 - sutthida
P. 15
7) กำรแก้ปัญหำพื้นฐำนของเศรษฐกิจ ดูรูปที่ 4 และ 6 ที่อธิบายถึงกลไกการแก้ปัญหาของระบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมและแบบวางแผน ตามล าดับ
ระบบเศรษฐกิจ เครื่องมือแก้ปัญหำพื้นฐำนของเศรษฐกิจ
แบบทุนนิยม กลไกราคาหรือกลไกตลาด (Price or Market
Mechanism) (รูปที่ 4)
แบบวำงแผน วางแผนจากส่วนกลาง (รูปที่ 6)
แบบผสม ใช้กลไกราคาร่วมกับวางแผนจากส่วนกลาง (เช่น
ประเทศไทย)
8) วิชำเศรษฐศำสตร์: แบ่งเป็น 2 สำขำหลัก คือ (1) เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) และ (2)
เศรษฐศาสตร์มหาภาค (Macroeconomics)
8.1) เศรษฐศำสตร์จุลภำค: เป็นการศึกษาหน่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ผลิต
(Producers) และ ผู้บริโภค (Consumers) โดยใช้ทฤษฎีของผู้ผลิตและของผู้บริโภคในการศึกษา
ตามล าดับ นอกจากนี้ เราจะใช้กลไกตลาดร่วมในการศึกษาถึงลักษณะการปฎิสัมพันธ์ของทั้งสอง
หน่วยย่อย
8.2) เศรษฐศำสตร์มหำภำค: เป็นการศึกษาเศรษฐกิจทั้งระบบ เช่น รายได้ประชาชาติ ระดับราคา
สินค้าและบริการ การออมและการบริโภคของประเทศ การใช้จ่ายของรัฐบาล การลงทุน การน าเข้า
และส่งออก และการจ้างงาน เป็นต้น
9) หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units): ประกอบด้วย 3 หน่วย คือ (1) ครัวเรือน (Household) (2)
หน่วยธุรกิจ (Firms) และ (3) รัฐบาล (Government)
9.1) ครัวเรือน: เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการ (ท าให้เกิดอุปสงค์ในตลาดสินค้าและบริการ) แต่เป็น
เจ้าของปัจจัยการผลิต (ท าให้เกิดอุปทานในตลาดแรงงาน)
9.2) หน่วยธุรกิจ: เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ (ท าให้เกิดอุปทานในตลาดสินค้าและบริการ) แต่เป็นผู้
ซื้อปัจจัยการผลิต (ท าให้เกิดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน)
9.3) รัฐบำล: ท าหน้าที่ควบคุมการแข่งขันของเอกชนให้เป็นไปโดยเสรี และดูแลทุกข์สุขของประชาชน
ลักษณะการปฎิสัมพันธ์ของทั้ง 3 หน่วยดูได้ในรูปที่ 7