Page 63 - sutthida
P. 63
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การช าระเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่าง
ประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ท าการซื้อขาย
สินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่
แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศ
ผู้น าเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละ
ประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้น าสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศ
ต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
สาเหตุที่ส าคัญที่ท าให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือ
ทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่ เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด ถ้ามีมากจะมีผลท าให้ราคาปัจจัย
นั้นต่ าและจะส่งผลท าให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้า ต่ าลงไปด้วย
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มี
แรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิด
ต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความช านาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิต การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลท าให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณ
มาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิต
ทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าส าเร็จรูป
เป็นต้นทุนส่วนส าคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างใน
ราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ
5.การลงทุนระหว่างประเทศ
การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งน าเงินไปลงทุนด าเนิน
ธุรกิจ เพื่อแสวงผลก าไรในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การลงทุนโดยตรง ( Direct Investment ) ในปัจจุบันการลงทุนโดยตรงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของการ
ด าเนินงานโดยวิสาหกิจ และมีสถาบันการเงินของเอกชนเป็นผู้จัดหาเงินทุนส าหรับโครงการต่าง ๆ ให้
2. การลงทุนโดยอ้อม ( Indirect Investment ) เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนต่างชาติไม่ได้เข้ามามีส่วนด าเนิน
กิจการโดยตรง ได้แก่ การลงทุนในรูปเงินกู้ ( Loan ) , การลงทุนแบบรับสินเชื่อจากผู้ขายและอื่น ๆ ซึ่ง
ส่วนมากเป็นการลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของต่างประเทศ
การโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
1. เพื่อปรับดุลการช าระเงินให้สมดุล 2. เพื่อช าระหนี้สินต่างประเทศซึ่งจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
2. แบบโดยตรงเพื่อหวังผลก าไรที่เกิดจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศ