Page 59 - sutthida
P. 59
ปัจจุบันประเทศไทยก าหนดการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเป็นแบบ “ลอยตัว” ชนิดมีการจัดการจะ
ใช้อุปสงค์และอุปทานของเงินตราเป็นตัวก าหนดอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินที่ท าการ
แลกเปลี่ยนเงินตรา แต่อยู่ในความดูแลของธนาคารกลาง
ค่าเงินแข็ง คือ เงินสกุลใดแข็งแสดงว่าเงินสกุลนั้นมีค่าสูงขึ้น เช่น เงินบาทแข็งค่า เดิม 1 ดอลลาร์ USเท่ากับ
40 บาท จะเป็น 1 ดอลลาร์ US เท่ากับ 38 บาท
ค่าเงินอ่อน คือ เงินสกุลใดอ่อนแสดงว่าเงินสกุลนั้นมีค่าลดลง
ดุลการช าระเงินระหว่างประเทศ (Balance of Payment) หมายถึง รายงานที่แสดงถึงยอดรายได้และรายจ่าย
ที่ประเทศได้รับหรือจ่ายให้แก่ต่างประเทศในระยะเวลา 1 ปี
บัญชีต่างๆ ที่ใช้แสดงรายงานดุลการช าระเงินระหว่างประเทศมีอยู่ 3 บัญชี คือ
บัญชีเดินสะพัด เป็นบัญชีแสดงรายรับและรายจ่ายเกี่ยวกับสินค้าเข้าและสินค้าออก หรือดุลการค้ารวมทั้งดุล
บริการ และดุลบริจาค
บัญชีทุนเคลื่อนย้าย เป็นบัญชีที่แสดงเกี่ยวกับการน าเงินทุนไปลงทุนระหว่างประเทศ
บัญชีทุนส ารองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของจ านวนเงินส ารอง ระหว่างประเทศในแต่
ละปี
ลักษณะของดุลการช าระเงินระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
ดุลการช าระเงินเกินดุล คือ รายรับสูงกว่ารายจ่าย (ท าให้เงินทุนส ารองเพิ่มขึ้น)
ดุลการช าระเงินขาดดุล คือ รายรับต่ ากว่ารายจ่าย (ท าให้เงินทุนส ารองลดลง)
ดุลการช าระเงินได้ดุล (สมดุล) คือ รายรับเท่ากับรายจ่าย (ท าให้เงินทุนส ารองไม่เปลี่ยน)
ปัจจัยที่น ำไปสู่ควำมร่วมมือทำงเศรษฐกิจ
- การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
คือ ความรู้สึกตอบแทนต่อกันของประเทศต่างๆ ในด้านการรวมกันเป็นองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ
- การแข่งขัน
คือ การที่มีการเปรียบเทียบระหว่างองค์การหรือประเทศเกิดขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์หรือกติกาเกิดขึ้นและมีผู้
ตัดสิน ซึ่งในธุรกิจมักจะเป็นตัวลูกค้า ดังนั้น ในทุกองค์การหรือประเทศต่างก็พยายามที่จะสร้างความได้เปรียบ
ให้กับตนเอง ซึ่งสามารถท าได้ 2 วิธีคือ การใช้ช่องโหว่ของกติกา หรือใช้ความสามารถที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม
การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จะมั่นคงและยั่งยืนได้จะต้องใช้วิธีการสร้างความสามารถของตนเองให้
เหนือกว่าคู่แข่งได้อย่างแท้จริง
- การขัดแย้ง
คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล องค์การ หรือประเทศที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายหรือวิธีหรือทั้งสองอย่าง แต่
เป็นการพึ่งพาอาศัยในทางลบ หรืออาจกล่าวว่าความขัดแย้ง คือ การที่แต่ฝ่ายไปด้วยกันไม่ได้ในเรื่อเกี่ยวกับ
ความต้องการ ทั้งนี้ สาเหตุส าคัญที่น าไปสู่ความขัดแย้งของประเทศต่างๆ ได้แก่ การแข่งขันกันทางอาวุธ และ
ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม คลอดจนผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ