Page 58 - sutthida
P. 58
ประเทศในกลุ่มสังคมนิยมเริ่มละทิ้งระบบการวางแผนจากส่วนกลางหันมาใช้ระบบทุนนิยมตลาดมากขึ้น อีกทั้ง
ประเทศที่พัฒนาแล้วได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ลง กระทั่งปัจจุบันได้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ถือ
ว่าเป็นการเปลี่ยนยุคของโลกาภิวัตน์ครั้งยิ่งใหญ่ อันเนื่องมาจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน การ
เคลื่อนไหวของทุนอย่างเสรี ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเตอร์เน็ตก่อให้เกิด
ปัจเจกภิวัตน์ (Globalization of People) ผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ มีโอกาสที่จะแข่งขัน พร้อมๆ กับร่วมมือกัน
ทั้งใน Physical และ Virtual Spaces ซึ่งตรงนี้ท าให้เกิดพลวัตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างมากมาย
ปัจจัยทำงเศรษฐกิจที่มีผล่อกำรเปิดเสรีทำงเศรษฐกิจของประเทศ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผล่อการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของประเทศมีดังนี้
1. ความสามารถใการผลิตสินค้า ประเทศไทยสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อการส่งออกได้อย่าง
หลากหลาย ท าให้สามารถกระจายการค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศได้ ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการสินค้าที่ไม่
สามารถผลิตได้เองในประเทศ หรือใช้ทุนสูงในการผลิตจึงต้องมีการน าเข้าจากต่างประเทศ
2. แรงงานที่มีคุณภาพและค่าจ้างแรงขั้นต่ า ประเทศไทยมีแรงงานที่มีคุณภาพและค่าจ้างแรงงานยังอยู่ในระดับ
ต่ าท าให้อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานของไทยมีต้นตุนการผลิตต่ า ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมของไทยและ
อุตสาหกรรมที่เกิดจากการลงทุนระหว่างประเทศ
3.นโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ให้การสนับสนุนการเปิดการค้าเสรี
4. นโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ประเทศมหาอ านาจทางเศรษฐกิจหลายประเทศด าเนินนโยบาย
กีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศมาแข่งขันกันสินค้าที่ผลิตในประเทศตนจึง
ท าให้ประเทศไทยต้องแสวงหาตลาดส่งออกแห่งใหม่
5. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลก ความต้องการสินค้าที่มีความหลากหลายในตลาดโลก
เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลก
6. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เมื่อใดค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนตัวลงก็จะเอื้อประโยชน์ต่อภาคการ
ส่งออก ถ้าค่าเงินบาทแข็งขึ้นการส่งออกของไทยก็จะลดลง
กำรเงินระหว่ำงประเทศ
การเงินระหว่างประเทศ เป็นการแสดงความสัมพันธ์ทางด้านการเงินระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง
ซึ่งความสัมพันธ์นี้สืบเนื่องมาจากการค้าขายระหว่างประเทศ การกู้ยืมเงินและการช าระหนี้ การลงทุนระหว่าง
ประเทศ และการช่วยเหลือกันระหว่างประเทศ
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือ การน าเงินตราสกุลหนึ่งไปแลกเปลี่ยนกับอีกสกุลหนึ่ง
การแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นสิ่งที่ส าคัญในการด าเนินธุรกิจระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ที่ถูกต้องนั้นต้องแลกที่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีการก าหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ 2 อย่าง คือ
อัตราซื้อ (Buying) คือ อัตราที่ธนาคารรับซื้อ (ราคาต่ า)
อัตราขาย (Selling) คือ อัตราที่ธนาคารขายไป (ราคาสูง)
ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนทั้ง 2 ประเภท ธนาคารกลางเป็นผู้ก าหนด โดยเทียบค่าเงินของตนกับทองค าหรือเงินตรา
สกุลอื่นๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศก าหนด