Page 57 - sutthida
P. 57

เนื้อหำประกอบกำรเรียน

               ระบบเศรษฐกิจในยุคกระแสโลกำภิวัตน์
                           โลกาภิวัตน์  (Globalization )  ค าที่พวกเราทุกคนคุ้นเคย แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจความหมายจริง

               ๆ ของค าสั้น ๆ ค านี้ โลกาภิวัตน์  ซึ่งหมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของ

               เทคโนโลยี  อันน าไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เร่งเร็วขึ้นในทุกระดับของสังคมมนุษย์ แต่เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในแวดวง
               วิชาการและสื่อสารมวลชน ยังครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีการสื่อสาร

               รวมทั้งยังมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของคนจ านวนมากในยุคสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นลักษณะของปรากฏการณ์
               ที่หลอมรวมความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นในทุกมุมส่วนของโลก ให้มี

               ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและใกล้ชิดกันมากขึ้นตามแบบอย่างโลกตะวันตก      จากความหมายของโลกาภิ

               วัตน์ในมุมมองของผู้เขียน ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงประสานใน 3 ด้านด้วยกันคือ
                             1.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานกันทางเศรษฐกิจระหว่างนานาประเทศ คือส่งผลให้มีการ

               ไหลเวียนของสินค้า บริการ เงินทุน ผู้คน และทรัพยากรที่ข้ามพ้นก าแพงรัฐชาติ การปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
               เชื่อมโยงกันจนเป็นอาณาบริเวณที่กว้างขวาง โดยโลกเศรษฐกิจจะไม่มีพรมแดนในลักษณะที่สอดคล้องกับการ

               แบ่งเขตเกี่ยวข้องกับดินแดนหรืออาณาเขต

                             2.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานทางแนวความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ อาทิ ความเป็น
               ประชาธิปไตย (Democratization หรือ กระบวนการท าให้เป็นประชาธิปไตย) สิทธิมนุษยชน (Human right)

               การจัดการปกครองที่ดี (Good Governance) การค้าเสรี (Free Trade) ตลอดจน วัฒนธรรมความทันสมัย

               แบบตะวันตก เป็นต้น ในฐานะอุดมการณ์หลักแห่งยุคสมัยที่ถูกแผ่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปเรียกกัน
               อย่างเต็มปากเต็มค าว่า “ยุคโลกาภิวัตน์”โดยคิดและอุดมการณ์เหล่านี้ มีผลอย่างมากต่อการจัดการปกครอง

               ทางการเมือง และสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน
                             3.  กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงประสานโลกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

               และการสื่อสาร เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่สามารถรายงานข่าวสาร สาระจากพื้นที่หนึ่งของโลก ให้กระจาย

               ไปทั่วโลกได้ทันที่ ผ่าน CNN, BBC อินเตอร์เน็ตที่ถ่ายทอดความคิด ความเชื่อผ่านทางเว็บไซด์ต่าง ๆ ร่วมถึง
               การเผยแพร่วัฒนธรรมสื่อ เช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ผ่าน Hollywood ในรูปแบบแฟชั่น ดนตรีเพลงผ่าน

               โทรทัศน์ช่อง MTV เป็นต้น
               กระแสโลกาภิวัตน์ถูกมองทั้งเป็นโลกของโอกาสและโลกของความเลวร้ายไม่ว่าจะมองอย่างไร กระแสโลกาภิ

               วัตน์นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นกระบวนการที่เกิดแล้วจะไม่มีการหวนกลับกระแสโลกาภิวัตน์เป็น

               กระบวนการที่เร่งท าให้เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศหล่อหลอมเข้าเป็นหนึ่งเดียวไปสู่การเป็น
               หนึ่งโลก หนึ่งระบบการค้า  หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในกลุ่มสังคมนิยมปฏิเสธระบบทุนนิยมในทาง

               หลักการ ในขณะที่ประเทศก าลังพัฒนาส่วนใหญ่ปฏิเสธมันในทางปฏิบัติ ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960

               ความแนบแน่นทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเริ่มมีมากขึ้น แต่รัฐบาลของแต่ละ
               ประเทศดังกล่าวก็ยังคงมีมาตรการควบคุมการเคลื่อนไหลของสินค้าและบริการ ทุนและการเคลื่อนย้ายของคน

               จวบจนช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่ประเทศก าลังพัฒนาเริ่มมีนโยบายเปิดกว้างกับโลกภายนอก พร้อมๆ กับการที่
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62