Page 61 - sutthida
P. 61

2. การจัดตั้งเขตการค้าเสรี เพื่อยกเลิกข้อจ ากัดทางการค้าในด้านปริมาณสินค้าน าเข้าและการตั้งก าแพง

               ภาษีระหว่างประเทศสมาชิก
                      3. การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี เพื่อให้ปัจจัยการผลิตของบรรดาประเทศสมาชิกสามารถ

               เคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี เช่น แรงงานของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ สามารถไปหางานท าในประเทศสมาชิก

               ได้ทุกประเทศ เป็นต้น
                     4. การก าหนดนโยบายร่วมกันเพื่อให้มีการก าหนดนโยบายทางเศรษฐกิจในด้านการค้า การเงินและการ

               คลัง การขนส่ง อุตสาหกรรมการเกษตร ตลอดจนนโยบายทางเศรษฐกิจในด้านการเมืองและสังคมเพื่อให้
               สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ประเทศสมาชิกเลือกท าการผลิตสินค้าที่ถนัดที่สุดและท าความตกลง

               จะไม่ผลิตสินค้าแข่งขันกัน

                     2.องค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
                      องค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะน ามากล่าวในที่นี้จะเป็นองค์กรระหว่าง

               รัฐบาลทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคที่ไทยมีความสัมพันธ์ด้วยที่ส าคัญ ได้แก่
                   2.1องค์การการค้าโลก ( The World Trade Organization : WTO)จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.

               2538 อันเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยภายใต้ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยศุลกากรและ

               การค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) ภายหลังที่นานาประเทศได้พยายาม
               มากว่า 40 ปี เพื่อก่อสร้างองค์กรขึ้นมาดูแลเกี่ยวกับการค้าโลกในนามองค์การการค้าโลก โดยมีวัตถุประสงค์

               เพื่อเป็นสถาบันที่ท าหน้าที่ดูแลการค้าโลกให้เป็นไปโดยเสรีและเป็นธรรม จัดการด าเนินงานให้เป็นไปตาม

               ข้อตกลงทางการค้า การต่อรองทางการค้าทบทวนนโยบายทางการค้าของประเทศ ยุติปัญหาข้อขัดแย้ง และ
               ช่วยเหลือประเทศก าลังพัฒนาในด้านนโยบายการค้า โดยสรุปแล้วบทบาทที่เด่นชัดที่สุดของการค้าโลก คือ

               การแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าเพื่อให้เสรีทางการค้ามากขึ้น
                      ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นประเทศสมาชิกล าดับ

               ที่ 59 ถือว่าเป็นประเทศที่ร่วมในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก การเป็นสมาชิกองค์การค้าโลกท าให้ประเทศไทย

               มีพันธะต้องปฏิบัติตามกฏและระเบียบขององค์การการค้าโลก ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศใน
               รูปแบบความตกลงพหุภาคี กฎและระเบียบดังกล่าวนี้มีผลเหนือกฏหมายภายในของประเทศสมาชิก ซึ่งสมาชิก

               แต่ละประเทศมีหน้าที่ที่จะไปแก้กฏหมายภายในให้สอดคล้องกัน
                   2.2สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asia Nations :

               ASEAN)ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

               วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเซีย
               ตะวันออกเฉียงใต้ มีสมาชิก เริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน

               ประกอบด้วยสมาชิกเพิ่มเติม อีก 5 ประเทศ คือ บรูไน (พ.ศ. 2527) เวียดนาม (พ.ศ. 2528) ลาว พม่า (พ.ศ.

               2540) และกัมพูชา (พ.ศ. 2542)
   56   57   58   59   60   61   62   63