Page 33 - ทหารปืนใหญ่ 62
P. 33
ท ห า ร ปื น ใ ห ญ่ 33
220. ผลที่ต้องการ (RESULT EFFECT DESIRED) มี 9 แบบ
การยิงตัดรอน (NEUTRALIZATION) ยิงต่อเป้าหมายเพื่อ ลดประสิทธิภาพ และท าให้ไม่
สามารถปฏิบัติภารกิจได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยการท าให้ เกิดเสียหายแก่ก าลังพล และ
อาวุธยุทโปกรณ์ 10% หรือมากกว่า / กระท าต่อ ปม.ที่ทราบพิกัดแน่นอน - ปม.ที่มีการ
ปรับการยิง และ ปม.ที่ได้จากเครื่องค้นหาปม.
การยิงข่ม (SUPPRESSION FIRE) ยิงต่อ ปม.ยืนยัน , สงสัย หรือไม่มีความถูกต้องแน่นอน
เพื่อลดประสิทธิภาพการต้านทานของข้าศึก หรือขัดขวางการปฏิบัติของฝ่ายเรา / ยิงด้วย
กระสุนระเบิด “ชนวนเวลา หรือ VT.” ก่อความหวาดกลัว,ตกใจ และเป็นการจู่โจม / ยิง
ด้วย “กระสุนควัน” ท าให้ข้าศึกมองเห็นได้จ ากัด และสับสน
การยิงท าลาย (DESTRUCTION FIRE) เป็นการท าลาย ปม.อย่างถาวร ท าให้หน่วยนั้นมี
ผู้บาดเจ็บล้มตาย หรือมีความเสียหาย 30% หรือมากกว่า / ปม.ต้องทราบพิกัดแน่นอน
หรือมีการปรับการยิง หรือปม.ที่ได้จากเครื่องมือค้นหาปม. / กระท าโดยหลาย ๆ หน่วย
และมีความสิ้นเปลืองกระสุนสูง
การยิงหาหลักฐาน (REGISTRATION FIRE) ยิงต่อจุดที่ทราบ หรือสมมุติขึ้นเพื่อหาตัวแก้
ใช้ยิงเพื่อประสิทธิภาพในการโจมตี ปม.ในขั้นต่อมา / อาจยิงนอกที่ตั้งยิงจริง หรือยิงไป
ข้างหลัง ก็ได้
การยิงรบกวน (HARASSING FIRE) ยิงต่อ ปม.ยืนยืน และสงสัย / มุ่งหมายเพื่อท าการ
รบกวนเวลาพักผ่อน , เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ และท าลายขวัญของข้าศึก
การยิงขัดขวาง (INTERDICTION FIRE) ยิงต่อภูมิประเทศที่เลือกเพื่อไม่ให้ข้าศึกเข้ามาใช้
พื้นที่นั้น (ทางแยก – สะพาน – ล าห้วย หรือท่าข้าม และทางผ่านหุบเขา)
การยิงส่องสว่าง (ILLUMINATING FIRE) ท าให้ฝ่ายเราสามารถปฏิบัติการในเวลากลางคืน
ได้ขณะเดียวกันรบกวนข้าศึกไปด้วย / อาจ ท าเป็นตารางการยิง หรือเมื่อร้องขอ ก็ได้
การยิงควันก าบัง (OBSCURATION FIRE) ใช้กระสุนควันสี และกระสุนควันฟอสฟอรัส
เพื่อก าบังการตรวจการณ์ของข้าศึก ด้วยการยิงบนที่ตั้งของข้าศึก / การใช้ควันก าบังต้อง
ประสาน กับ ผบ.หน่วยด าเนินกลยุทธ และหน่วยอื่น ๆ ที่อาจถูกรบกวนด้วย
การยิงควันพราง (SCREENING FIRE) มีลักษณะ ใกล้เคียงการยิงควันก าบังมาก เราะ
กระสุนที่ใช้เป็นแบบเดียวกัน แต่มีความต้องการที่จะสร้างม่านควันเพื่อคุ้มครองการด าเนิน
กลยุทธของหน่วยเดียวกัน และยังได้ผลในการลวงด้วย