Page 28 - ชุดการเรียนการสอน สาระประวัติศาสตร์ 100
P. 28

*การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง



                -หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ “ผู้รั้ง”เป็นผู้ปกครอง

                -หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมือง

                พิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ

                -การปกครองประเทศราช  คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่

                ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามก าหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม













                                                   พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
                                                          ด้านเศรษฐกิจ












                    ลักษณะเศรษฐกิจไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นการเกษตรแบบยังชีพ โดยผลิตสินค้า

             เพื่อการบริโภคและอุปโภคในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนกันเองในชุมชน ที่เหลือส่วนหนึ่งกันเอาไว้


             ส าหรับเสียภาษีอากรให้กับแผ่นดิน ถ้ายังเหลือก็อาจจะน าไปแลกเปลี่ยน ซื้อขายกัน


                    ส าหรับการค้าต่างประเทศอยู่ใต้การควบคุมของพระคลังสินค้าที่ผูกขาดการค้ากับ


             ต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่าสมัยรัชกาลที่1และสมัยรัชกาลที่ 2 ไม่สามารถเก็บภาษีอากรได้พอเพียง

             ส าหรับการจ่ายเบี้ยหวัดเงินปีแก่ขุนนาง ข้าราชการ จนต้องน าเงินก าไรจากการค้าส าเภากับ

             ต่างประเทศมาใช้จ่ายเพิ่มเติม



                    ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รายจ่ายของแผ่นดินเพิ่มมากขึ้น จึงต้อง

             หาวิธีเพิ่มพูนให้กับท้องพระคลัง ทั้งในด้านการค้ากับเรือส าเภากับต่างประเทศ รวมทั้งการใช้วิธี


             ประมูลผูกขาดการเก็บภาษีอากร ท าให้ท้องพระคลังมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33