Page 30 - ชุดการเรียนการสอน สาระประวัติศาสตร์ 100
P. 30

พัฒนาการด้านสังคม










                       สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ในระยะแรกๆมีลักษณะเหมือนกับสังคมไทยในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี

               ต่อมามีการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมากขึ้น สังคมไทยจึงปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย  จนกระทั่งเมื่อไทย

               เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย สังคมไทยจึง

               เปลี่ยนแปลงไปภายใต้เสรีภาพที่ก าหนดไว้ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ



                          พระมหากษัตริย์


                        ทรงเป็นประมุขสูงสุดของราชอาณาจักร พระองค์ทรงได้รับยกย่องจากพสกนิกรของพระองค์ว่า

                 พระองค์ทรงมีลักษณะเป็น “สมมติเทพ”ตามลัทธิความเชื่อในศาสนา พราหมณ์-ฮินดูเป็น “ธรรมราชา”

                 ตามลัทธิความเชื่อในพระพุทธศาสนา






                           พระราชวงศ์



                        หมายถึง  เจ้านาย ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือญาติของพระมหากษัตริย์บางทีเรียกว่า

                 “พระบรมวงศานุวงศ์” ต าแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  สกุลยศ กับ

                 อิสริยยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สกุลยศมีอยู่ 3 ต าแหน่ง  คือ  เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า และหม่อม

                 เจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศเจ้า ที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯให้เลื่อนขึ้น

                        อิสริยยศที่ส าคัญที่สุด ได้แก่  มหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับต าแหน่งทรงกรมก็ถือเป็นอิสรย

                 ยศด้วยเหมือนกัน  ได้แก่ กรมหมื่น  กรมขุน  กรมหลวง และกรมสมเด็จพระ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35