Page 31 - ชุดการเรียนการสอน สาระประวัติศาสตร์ 100
P. 31

ขุนนาง

                         คือบุคคลที่รับราชการแผ่นดิน  มีศักดินา  ยศ   ราชทินนาม  และต าแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึง

                 อ านาจและเกียรติยศ  ถ้าจะกล่าวอีกันยหนึ่งขุนนางก้คือ  บรรดาข้าราชการของแผ่นดิน  ขุนนางที่มีศักดินา
                  400 ไร่ขึ้นไปจะได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์  แต่ถ้าศักดินาต่ ากว่า  400  ไร่ ลงมา  จะ


                  ได้รับแต่งตั้งจากเสนาบดี ยศของขุนนางมี  8  ล าดับ จากสูงสุดลงมาจนถึงต่ าสุด  คือ  สมเด็จเจ้าพระยา

                 เจ้าพระยา   พระยา   พระ   หลวง   ขุน หมื่น และพัน




                                ไพร่


                         คือ ราษฎรที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่  2  ศอกครึ่ง  มูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้เพื่อ

                 เกณฑ์แรงงานไปใช่ในราชการต่างๆ
                         ไพร่แบ่งเป็นประเภทตามสังกัดได้เป็น  2ประเภท

                 ไพร่หลวง  หมายถึง  ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ  เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง  ไพร่หลวง
                 แบ่งเป็น  2 ประเภท  คือ  ไพร่หลวง  ที่ต้องมารับราชการตามที่ทางก าหนดให้ หากมาไมได้ต้องให้ผู้อื่นไป

                 แทนหรือส่งเงินมาแทนการรับราชการ และไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินแต่ไม่ต้องมารับราชการ  เรียกไพร่

                 ประเภทนี้ว่า “ไพร่หลวงส่วย”
                 ไพร่สม  หมายถึง  ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แกเจ้านายและขุนนางที่มีต าแหน่งท าราชการเพื่อ

                 ประโยชน์  เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีเงินเดือน  การควบคุมไพร่ของมูลนาย  หมายถึง การได้รับผลประโยชน์

                 ตอบแทน  เช่น  ส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการของก านันจากไพร่  เป็นต้น




                                ทาส


                         บุคคลที่มิได้เป็นกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเองแต่กลับตกเป็นทาสของนายจนกว่าจะ

                 ได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส  นายมีสิทธิในการซื้อขายทาสได้ลงโทษทุบตีทาสได้  แต่จะให้ถึงตาย
                 ไม่ได้  ทาสมีศักดินา  ๕ไร่   สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ทาสมีหลายประเภท  เช่น  ทาสสินไถ่ (ทาสไถ่มา

                 ด้วยทรัพย์)  ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย  ทาสที่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดามารดา  เป็นต้น





                           พระภิกษุสงฆ์


                        เป็นผู้สืบทอดพระพุทธสาสนา  จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน  เป็นที่เคารพนับถือของ
                 คนไทยทุกระดับ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประมุขฝ่ายพระสงฆ์ สมเด็จ

                 พระสังฆราชจะได้รับสถาปนาจากพระมหากษัตริย์
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36