Page 14 - E-book Final
P. 14

หลักและวิธีการรายงานการรับส่งเวรด้วยเทคนิค SBAR

                           1) รายงานการส่งเวรโดยการพูด (Verbal Shift Report ) เป็น


               การรายงานการส่งเวรที่นิยมกันมากที่นํามาปฏิบัติกัน ทั้งในห้องประชุม


               เคาน์เตอร์พยาบาล หรือข้างเตียงผู้ป่วย มีข้อดี คือ สามารถซักถามข้อ


               สงสัยให้กระจ่างในเวลานั้น ถ้ารายงานการส่งเวรในห้องประชุม


               เคาน์เตอร์พยาบาลจะเงียบเสียงรบกวนน้อย ถ้ารายงานการส่งเวรข้าง


               เตียงผู้ป่วยจะทําให้มองเห็นผู้ป่วย ผู้ป่วยจะปลอดภัย ได้พูดคุยกับผู้ป่วย

               และญาติเพื่อหาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่


               สามารถรายงานข้อมูลตามที่บันทึกไว้ เมื่อพยาบาลระลึกข้อมูลอะไรได้ก็


               จะรายงานตามนั้น และทําให้ใช้เวลานานในการรายงานส่งเวร แต่ถ้า


               รายงานการส่งเวรในห้องประชุม เคาน์เตอร์พยาบาลขณะรายงานการส่ง


               เวร ผู้ป่วยอาจร้องเรียกขอความช่วยเหลือทําให้ขาดสมาธิ ถ้ารายงานการ


               ส่งเวรข้างเตียงผู้ป่วยจะเป็นการรบกวนผู้ป่วยในเวรบ่ายและดึก และ


               ผู้ป่วยรายอื่นอาจได้ยินความลับของผู้ป่วยที่กําลังรายงานการส่งเวร


                           2) รายงานการส่งเวรโดยใช้เทป (Taped Report ) เป็นการ


               รายงานการส่งเวรที่พยาบาลได้บันทึกเสียงไว้แล้ว ข้อดีคือ ประหยัดเวลา


               และค่าใช้จ่าย ทําให้ผู้รายงานการส่งเวรได้ลงเวรตามเวลาที่กําหนด


               ข้อเสียคือ ข้อมูลที่บันทึกอาจไม่ครอบคลุมปัญหาผู้ป่วย ซักถามข้อสงสัย

               ให้กระจ่างในเวลานั้นไม่ได้ ไม่แม่นยําวิธีนี้มีการใช้มานาน ไม่เหมาะสมกับ


               กาลเวลาและบริบทในปัจจุบัน


                           3) รายงานการส่งเวรแบบไม่ใช้เสียงหรือการเขียนรายงาน


               (Silent or Written Report) เป็นการรายงานการส่งเวรที่ส่วนใหญ่ใช้ใน


               สถานการณ์การนําส่งหรือส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยงานหนึ่งสู่อีกหน่วยงาน





                                                           11
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19