Page 15 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 15

บทที่ 1


                                                              บทน ำ



                       1.1  ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ


                                 การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆทั่วโลกจากรายงาน
                       สถานการณ์ผู้สูงอายุได้ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2559 โลกของเรามีประชากรทั้งหมดประมาณ 7,433 ล้าน

                       คน ในจ านวนนี้เป็นประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จ านวน 929 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ

                       12.5 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าประชากรโลกจะมีอายุสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ประเทศ
                       พัฒนาแล้วได้กลายเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ไปแล้วทุกประเทศ ส่วนประเทศที่

                       ก าลังพัฒนาก าลังมีประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลายประเทศได้กลายเป็นสังคมสูงอายุ
                                                                   1
                       แล้ว และหลายประเทศก าลงจะกลายเป็นสังคมสูงอายุ

                                 สถานการณ์สูงวัยของประชากรไทยในรอบสิบปีที่ผ่านมา จากรายงานสถานการณ์

                       ผู้สูงอายุไทยพบว่า ประชากรไทยเพิ่มขึ้นข้าลงอย่างมากเมื่อ 50 ปีก่อน เคยเพิ่มด้วยอัตราสูงอย่างร้อย
                       ละ 3 ต่อปี แต่ปัจจุบันลดต่ าเหลือเพียงร้อยละ 0.5 ต่อปี อัตราการเพิ่มประชากรลดช้าลงอย่างมาก

                       ในขณะที่ประชากรสูงอายุกลับเพิ่มด้วยอัตราเร็วขึ้น เมื่อปี 2503 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปี

                       ขึ้นไปเพียง 1 ล้านคนหรือร้อยละ 4 ของประชากรจ านวน 26 ล้านคน จนถึงปี 2559 มีประชากรอายุ
                       60 ปีขึ้นไป มีจ านวน 11 ล้านคนหรือร้อยละ 16.5 ของประชากร 65.9 ล้านคน และคาดประมาณว่า

                       ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์”
                                                                          2

                                 ประเทศไทยจ าเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ประชากรสูงวัยอย่างรวดเร็ว การมี
                       ส่วนของประชากรผู้สูงอายุมากขึ้นจะเป็นการเพิ่มภาระของรัฐ สังคม ชุมชน และครอบครัวที่ต้องคอย

                       ดูแลสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการยังชีพ รวมทั้งสถานที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงวัย ดังนั้นจึง
                       จ าเป็นต้องเตรียมพร้อมด้านการระดมทรัพยากร พัฒนารูปแบบและระบบต่างๆในการให้บริการด้าน

                       สุขภาพอย่างเท่าเทียมกันแก่ผู้สูงอายุที่จะเพิ่มจ านวนขึ้นอีกมากในปี 2565 และปี 2574 การมีอายุอยู่

                       ยืนยาวขึ้นไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า ผู้สูงอายุจะอยู่ในภาวะอยู่ดีมีสุขหรือสุขภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายของ
                       ชีวิตทุกคน จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2559 รายงานว่า “ผู้สูงอายุจ านวนมากอาจจัดอยู่


                                 1  มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), สถำนกำรณ์ผู้สูงอำยุ พ.ศ.2559,บทสรุป
                       ส าหรับผู้บริหารและข้อเสนอแนะ,(จังหวัดนครปฐม: พริ้นเทอรี่ จ ากัด 999 อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 2
                       มหาวิทยาลัยมหิดล,2559),หน้า 3
                                 2  เรื่องเดียวกัน,หน้า 4
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20