Page 17 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 17
3
4. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ เช่น ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสูงอายุจึงต้องการดูแลทาง
6
สังคม(Social care) พร้อมกับการดูแลทางสุขภาพ
สุขภาพผู้สูงอายุของไทยมีแนวโน้มเสื่อมถอยหลายด้านพร้อม ๆ กัน ส่วนหนึ่งอาจเกิดจาก
ความจ ากัดในการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่ผู้สูงอายุอาศัยโดยล าพัง และ/
หรือประสบความยากล าบากในการเดินทาง และความจริงเป็นที่ยอมรับทั่งโลกคือ ระบบบริการ
สุขภาพของไทยและทั้งโลกถนัดในการดูแลภาวะเฉียบพลัน ในด้านความเท่าเทียมกันในการเข้าถึง
บริการของผู้สูงอายุพบว่า ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ตามล าพังเพิ่มสูงขึ้น ผู้สูงอายุในครัวเรือน
เหล่านี้เข้าถึงบริการได้น้อยกว่าผู้สูงอายุในครัวเรือนที่มีญาติหรือผู้ดูแลอยู่ด้วย รวมทั้งการเข้าถึง
7
บริการขนส่งโดยสารสาธารณะที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของผู้สูงอายุในหมู่ที่
2 และหมู่ที่ 3 ที่มีถิ่นฐานอยู่ในชนบท และอาศัยอยู่ตามล าพังคนเดียวมีอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจมีอาชีพท าการเกษตร มีรายได้ต่ ากว่าเส้นความยากจน แหล่งรายได้หลักจาก
บุตรลดลงอย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่ผู้สูงอายุยังท างานอยู่ การขาดแคลนการบริการรถโดยสารใน
พื้นที่แห่งนี้จึงมีความรุนแรงมากกว่าในเขตอื่นๆ
วัดสุคนธาราม ต าบลเทพมงคล อ าเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นองค์กรการ
กุศลทางด้านพระพุทธศาสนาประเภทนิติบุคคล มีความตระหนักถึงสถานการณ์ผู้สูงวัยที่มีความ
แตกต่างระหว่างผู้ป่วยสูงอายุกับผู้ป่วยผู้ใหญ่ทั่วไป จึงมีความพยายามร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งบ้าน
โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ าต าบล อาสาสมัคร ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้แทนจาก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วางแผนการดูแลผู้สูงอายุ(Healthy aging)แบบบูรณาการทั้งในด้าน
สุขภาพ กาย จิตใจ สังคม สามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามศักยภาพ และมีการปรับตัวจาก
วัยหนึ่งสู่วัยหนึ่งอย่างราบรื่น ให้เป็นไปตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2(พ.ศ.2545 – 2564) ที่มุ่ง
ให้ “ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม” จะมุ่งสร้างสังคมเพื่อคนทุกวัยได้เตรียมพร้อมและได้ประโยชน์
8
เต็มตามศักยภาพทางกาย จิต ปัญญา และเป็นสังคมที่ส่งเสริมและยอมรับผู้สูงอายุให้มีบทบาททาง
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ชุมชน และครอบครัว เกื้อกูลต่อความผูกพันระหว่างคนต่างวัย เป็นสังคม
ที่ผู้สูงอายุด ารงชีพอย่างเท่าเทียม สมศักดิ์ศรี เต็มความภาคภูมิใจ เป็นอิสระ มีส่วนร่วม และได้รับการ
ดูแลทุกที่ทุกโอกาส จึงร่วมกับคณะวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย แสวงหาทางเลือก “การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม”
เพราะหลักพุทธธรรมสามารถบูรณาการกับหลักการแพทย์แผนปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย
9
หลักค าสอนของพระพุทธศาสนาสามารถพัฒนาจิตใจให้มีพลังในการสร้างความสมดุล หรือสมตา คือ
ความสมดุลหรือความพอดีกันระหว่างองค์ประกอบที่เรียกว่าอินทรีย์ทั้ง 5 คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
และปัญญา ควบคุมอารมณ์ที่พึงปรารถนาและอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนาให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะได้
6 มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), สถำนกำรณ์ผู้สูงอำยุ พ.ศ.2559,หน้า 46 - 47.
7 เรื่องเดียวกัน,หน้า 55-56.
8 เรื่องเดียวกัน,หน้า 53.
9 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ลักษณะแห่งพระพุทธศำสนำ ฉบับสองภำษำ,กรุงเทพ
มหานคร : โรงพิมพ์เจริญดีมั่งคงการพิมพ์, 2558),หน้า,11.