Page 84 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 84

70


                       ด าเนินงานเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรมซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิต
                       ชองชุมชนที่สัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าประชุมในครั้งนี้
                       ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ตัวแทนผู้น าชุมชน ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต าบลเทพมงคล
                       อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจ าโรงพยาบาลส่งเสริม

                       สุขภาพต าบลเทพมงคล รวมทั้งสิ้น 37 คน คณะผู้วิจัยได้ด าเนินกิจกรรมตามล าดับ ดังนี้
                                 1)  จัดเตรียมวิทยากรการประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วม จ านวน 4 รูป/คน ท าการชี้แจง
                       กระบวนการประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วมพร้อมทั้งมอบภารกิจการท าหน้าที่ผู้น าการประชุม

                                 2)  ท าหนังสือจากวัดสุคนธาราม เชิญผู้สูงอายุ ตัวแทนผู้น าชุมชน ตัวแทนจากองค์กร
                       ปกครองส่วนท้องถิ่นต าบลเทพมงคล อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3และเจ้าหน้าที่
                       สาธารณสุขประจ าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลเทพมงคล เพื่อเข้าร่วมประชุม
                                 3)  จัดห้องเรียนพระปริยัติธรรมของวัดสุคนธารามเป็นห้องประฃุม
                                 4)  จัดเตรียมเอกสารลงชื่อผู้เข้าประชุม ระเบียบวาระการประชุม อุปกรณ์การประชุมเช่น

                       กระดาษฟลิ๊บช้าท (Flip chart) ปากกาเคมี น้ าดื่ม
                                 5)  คณะผู้วิจัย เตรียมเครื่องฉายเสนอผ่านเพาเวอร์พ้อยท์ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ และ
                       ล าดับขั้นตอนการประชุม

                                 คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ
                       จ านวน 25 คน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 รวมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
                       ประจ าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล จ านวน 8 คน และกลุ่มตัวแทนผู้น าชุมชน ตัวแทนจากองค์กร
                       ปกครองส่วนท้องถิ่นต าบลเทพมงคล จ านวน 4 คน เพื่อน าสะท้อนสภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุ สภาพ

                       ปัญหาและบริบทของชุมชน ในหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 มุ่งหวังให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
                       (Learning Process of Community) ที่น าไปสู่คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมใน 4 ด้าน คือ
                       ด้านกาย ด้านสังคม ด้านจิตใจ และด้านปัญญาด้วยหลักพุทธธรรม เพราะหลักพุทธธรรมสามารถน ามา
                       บูรณาการกับหลักการแพทย์ปัจจุบันในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ

                       พัฒนาจิตให้มีพลังในการควบคุมพฤติกรรมทางกาย อารมณ์ ที่ตอบสนองต่อการรับรู้ได้แก่ ตาเห็นภาพ
                       หูได้ยินเสียง จมูกรับรู้กลิ่น ลิ้นรับรู้รส และกายรับรู้การสัมผัส (อายตนะภายใน) เสริมสร้างพฤติกรรมใน
                       การดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ 1) พละ 5 เป็นการสร้างความตระหนักรับรู้การเปลี่ยนแปลง
                       ของชีวิตตนเอง ไม่ท้อถอย 2) อิทธิบาท 4 เป็นการสร้างความพยายามเอาชนะความเหนื่อย ความ

                       เจ็บปวด เกิดความมุ่งมั่นที่จะต้องท าให้ชีวิตตนเองยืนยาว(สุขภาพเป็นสิทธิของทุกคน) และ 3) ภาวนา
                       4 เป็นการเน้นการลงมือปฏิบัติอย่างสม่ าเสมอจนเกิดเป็นความเคยชินในการพัฒนา ซึ่งจะท าให้เกิด
                       ความยั่งยืนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ(Sustainability of Older Persons’ Quality of Life)
                       เมื่อสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติจะได้รูปแบบการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุที่เกิดจากพื้นฐานการลงมือฝึกปฏิบัติ

                       ด้วยตนเองอย่างสม่ าเสมอ

                                 4.2.1 การประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคกระบวนการ A.I.C (ในสัปดาห์ที่
                       4-5 ) สรุปได้ดังแสดงในตารางที่ 2-10 จ าแนกเป็นรายกลุ่ม.ดังนี้
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89