Page 79 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 79
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม ในครั้งนี้
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และแสวงหา
รูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรมในหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 วัดสุคน-
ธาราม ต าบลเทพมงคล อ าเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมี
ส่วนร่วม (Appreciation Influence Control : A.I.C) มีผู้เข้าร่วมในการวิจัยประกอบไปด้วย ผู้สูงอายุ
ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจ า หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3
ตัวแทนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลเทพมงคล ตัวแทนเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วน
ต าบลเทพมงคล รวมจ านวนผู้เข้าร่วมในการวิจัยทั้งสิ้น 41 คน ผู้วิจัยจัดเก็บข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2561-ถึง เดือนพฤศจิกายน 2561(42 สัปดาห์) เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ มีจ านวน 5 ชุด ซึ่งผู้วิจัยน าเครื่องมือของ วชิราวุธ ผลบุญภิรมย์ กับ
ขวัญดาว กล่ ารัตน์ มาบูรณาการกับผลการทบทวนเอกสารและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามกรอบแนวคิด
ของการวิจัย แล้วจัดท าเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content Validity)
ในเรื่องความรู้และการฝึกปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม โดยผู้เชี่ยวชาญ
จ านวน 3 ท่าน ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) ในส่วนของความรู้ในการปฏิบัติตัวใน
การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม ใช้การวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีของ Kuder
– Richardson โดยการใช้ สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.74 ส่วนการฝึกปฏิบัติตัวในการดูแล
สุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม ใช้วิธีการของคอนบราช(Conbrach’s Method) ด้วยการหาค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ ในส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาน าเสนอในรูปของตารางแจกแจงความถี่ ค่าร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ าสุดค่าสูงสุด ในส่วนข้อมูลความรู้และการฝึกปฏิบัติในการ
ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม แปลผลเป็นค่าคะแนนและเปรียบเทียบความแตกต่าง
คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการด าเนินการฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม โดย
ใช้สถิติ Paired t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อสรุป
ความเชื่อมโยงของเหตุและผล ในประเด็นที่ศึกษา ประกอบด้วย
4.1 การศึกษาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของสถานที่ที่ท าการวิจัย
4.2 ผลการจัดประชุมวางแผนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม (A–I-C) ของชุมชนในการพัฒนา
รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม