Page 18 - ปทุมวัน
P. 18
10
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
กกกกกกก1. บอกความหมายคติความเชื่อ และความศรัทธา และรูปลักษณ์ของท้าวมหาพรหมได้
กกกกกกก2. อธิบายความส าคัญของท้าวมหาพรหมได้
กกกกกกกุ3. ตระหนักถึงความส าคัญ และเห็นคุณค่าของท้าวมหาพรหม
ขอบข่ายเนื้อหา
กกกกกกกบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับท้าวมหาพรหม มีขอบข่ายเนื้อหาดังนี้
กกกกกกก เรื่องที่ 1 ความหมายของท้าวมหาพรหม
กกกกกกก เรื่องที่ 2 ความส าคัญของท้าวมหาพรหม
กกกกกกก เรื่องที่ 3 คติความเชื่อ และความศรัทธาที่มีต่อท้าวมหาพรหมของคนไทย
กกกกกกก เรื่องที่ 4 รูปลักษณ์ของท้าวมหาพรหม
สื่อประกอบการเรียน
1. หนังสือพระมหาพรหมองค์เดิมที่บูรณปฏิสังขรณ์ พุทธศักราช 2549
ผู้เขียน กรมศิลปากร ปี พ.ศ. 2549 โรงพิมพ์รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จ ากัด
2. บทความเรื่อง พระพรหมมหาเทพผู้สร้างโลกและลิขิตชีวิตมนุษย์ ผู้เขียน
อาจารย์พิทักษ์ โค้ววันชัย สืบค้นจาก http://www.siamganesh.com/lordbrahma.html
เรื่องที่ 1 ความหมายของท้าวมหาพรหม
ในความหมายโดยทั่วไปของท้าวมหาพรหม มาจากค าว่า “พรหม” หรือ “พระพรหม”
ตามแหล่งที่มาต่าง ๆ ดังนี้
พรหม หมายถึง ความเจริญ ความกว้างขวาง ความขยายตัว หรือความเบิกบาน ดังนั้นตาม
คติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีค าว่า พรหม ประกอบ
ค าศัพท์ เช่น พรหมจรรย์ พรหมบุตร หรือ พรหมวิหาร 4 เป็นต้น
พระพรหม หมายถึง เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดูเป็นเทพเจ้าแห่ง
การสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้ก าเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้ก าเนิด
คัมภีร์พระเวทก าเนิดของพระพรหม แตกต่างกันออกไป พระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ
จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์ กษัตริย์ เกิดจากอก แพศย์เกิดจากส่วนท้อง
และศูทรเกิดจากเท้า ต านานนั้นเล่าว่าพระพรหมหรือที่เรียกกันว่า “อาปวะ” ได้แบ่งพระองค์เอง
ออกเป็น 2 ภาค หลังจากที่ทรงเกิดแล้วภาคหนึ่งเป็นชาย คือพระองค์เอง และอีกภาคหนึ่งเป็นหญิงมี
นามว่า ศตรูปา หรือสรัสวดี แล้วต่อมาจึงช่วยกันสร้างเทวดา มนุษย์ สัตว์ อสูร และสรรพพืชพันธุ์ใน