Page 20 - ปทุมวัน
P. 20
12
ในคติพระพรหมของพราหมณ์-ฮินดูคือ พระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง
เป็นผู้ก าหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต
เหตุการณ์ส าคัญของโลกล้วนอยู่ในสายตาของพระพรหม พระพรหมคือมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสาม
ตรีมูรติ ทรงรับฟังค าอธิษฐานของผู้ศรัทธาเสมอ ผู้บูชาพระพรหมและท าความดี จะได้รับการบันดาล
พรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา พระพรหม มีพระนามหลากหลาย เช่น พระพรหมมา พระพรหมา พระ
พรหมธาดา ท้าวมหาพรหม ปชาบดี อาทิกวี อาตมภู โลกาธิปดี
ดังกล่าวมาข้างต้น คนจึงเกรงกลัวอ านาจเหนือธรรมชาติของพระพรหม จึงเกิดการบนบาน
ศาลกล่าวกับพระพรหม เพราะเชื่อว่าท่านบันดาลให้ความต้องการส าเร็จลงได้ ท าให้มีการบนและ
การแก้บนในเวลาต่อมามีข้อมูลที่เกี่ยวข้องบางส่วนของท้าวมหาพรหมกับพุทธศาสนาด้วย มีต านาน
เล่าว่า ครั้งหนึ่งมีเทวดา 5 องค์ คือ สาตาคิรายักษ์ อสุรินทราหู ท้าวมหาราช ท้าวสักกะ และท้าว
มหาพรหม ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าจนเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ถึงกับเปล่งวาจา จึงเกิดบทสวด
มนต์นมัสการพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่บัดนั้น
กล่าวโดยสรุป ความส าคัญของท้าวมหาพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ มี
อานุภาพในการลิขิตชะตาชีวิต พระพรหมเป็นผู้คุ้มครองคนดีและลงโทษผู้กระท าบาป ผู้มีกิเลส
ตัณหาจะถูกพระพรหมลิขิตให้ชีวิตมีแต่ความล าบาก ในคติพุทธศาสนา พระพรหมเป็นชาวสวรรค์
ชั้นสูงกว่าเทวดา มีการวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม พระพรหมในพุทธศาสนา
เป็น พระพรหมผู้วิเศษ ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร และในคติพระพรหม
ของพราหมณ์-ฮินดู พระเจ้าผู้สร้างและลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้ก าหนดชะตาชีวิตของ
มนุษย์ทุกคน พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต เหตุการณ์ส าคัญของโลกล้วนอยู่ใน
สายตาของพระพรหม
เรื่องที่ 3 คติความเชื่อ และความศรัทธาที่มีต่อ ท้าวมหาพรหมของคนไทย
ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต
ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า “พรหมลิขิต” และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็น
นิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า “พรพรหม” หรือ “พรหมพร” และยังเป็นเทพประจ า
ทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ เช่น “พรหมธาดา” หรือ
“ประชาบดี” (ผู้สร้าง) “หงสรถ” หรือ “หงสวาหน” (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ) “จตุรพักตร์” (ผู้มีสี่หน้า)
“ปรเมษฐ์” (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น
ในทางคติเถรวาท พระพรหมไม่มีเพศ ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิ
อื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่ายคูตรมูถ สถิตยเสวยสุขพรหม
สมบัติอยู่ ณ พรหมภูมิที่ตนอุบัติตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน