Page 110 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
P. 110
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
ร่างกายของผู้ใช้เรียกว่า “Biometric” ยกตัวอย่างเช่น พิสูจน์ด้วยลายนิ้วมือ (Fingerprint) ลายมือ (Palm
Scan: รอยเส้นเลือดที่ฝ่ามือ) จดจ าใบหน้า (Face Recognition) รูปร่างของมือ (Hand Geometry) สแกนเร
ตินา (Retina Scan) และสแกนม่านตา (Iris Scan) เป็นต้น
Biometric (sites.google, 2558, [ออนไลน์]) มาใช้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัย 3 ประการ คือ
1. ความน่าเชื่อถือของระบบ
2. ต้นทุนและความพร้อมใช้
3. ความเต็มใจของผู้ใช้ ซึ่งก็คือพนักงานในองค์กรที่บางครั้งอาจไม่ชอบวิธีการที่จะต้องใช้ส่วนหนึ่ง
ส่วนใดของร่างกายสัมผัสอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับคนอื่น
การประเมินประสิทธิภาพของ Biometric (sites.google, 2558, [ออนไลน์])
จากหัวข้อที่ผ่านมาท าให้ทราบว่าก่อนการน าระบบตรวจลักษณะทางชีวภาพ หรือ Biometric มาใช้
ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพของระบบดังกล่าวก่อนโดยสามารถพิจารณาจาก 3 เงื่อนไข ดังนี้
1. อัตราการปฏิเสธแบบผิดพลาด (False Reject Rate: FRR) คือ เปอร์เซ็นต์ที่ผู้ใช้ที่ได้รับ
อนุญาตถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าระบบแสดงว่าอุปกรณ์ Biometric ท างานผิดพลาดในอัตราที่สูงขึ้น
2. อัตราการยอมรับแบบผิดพลาด (False Accept Rate: FAR) คือ เปอร์เซ็นต์ที่ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ใช้
งานระบบได้รับอนุญาตให้เข้ามาในระบบได้นับเป็นความผิดพลาดอีกชนิดหนึ่งของอุปกรณ์ Biometric เรียก
ความผิดพลาดชนิดนี้ว่า “Type II Error” หรือ “False Positive” ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงไม่สามารถ
ละเลยได้
3. อัตราความผิดพลาดทั้งหมด (Crossover Error Rate: CER) คือ จุดที่อัตราการปฏิเสธแบบ
ผิดพลาดเท่ากับอัตราการยอมรับแบบผิดพลาดเรียกอย่างหนึ่งว่า “Equal Error Rate” คือ CER เป็นค่าที่
องค์กรใช้พิจารณาเลือกชื้อระบบ Biometric โดยควรเลือกระบบ Biometric ที่มีค่า CER ต่ าที่สุด นั่นคือ
ระบบที่อัตรา FAR และ FRR ในระดับที่สมดุลกันไม่ผิดพลาดไปในด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป
ประสิทธิผลและการยอมรับได้ของ Biometric แต่ละชนิดประสิทธิผลของระบบ Biometric บางครั้ง
จะมีทิศทางตรงกันเข้ามากับการยอมรับได้ของใช้ระบบในองค์กรกล่าวคือ Biometric บางชนิดมีประสิทธิผล
สูงแต่ผู้ใช้ไม่ยอมรับเนื่องจากเห็นว่าเป็นการรุกล้ าสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป ในทางกลับกันผู้ใช้กลับยอมรับว่า
Biometric บางชนิดที่มีประสิทธิผลต่ าเพียงเพราะเห็นว่าไม่เป็นการรุกล้ าสิทธิส่วนบุคคล ตารางต่อไปนี้แสดง
ให้เห็นถึงประสิทธิผลและการยอมรับได้ของ Biometric แต่ละชนิด
ในที่นี้ขอกล่าวถึงระบบ Biometric เพิ่มเติม 2 ประเด็น ได้แก่ (1) สถาปัตยกรรมของระบบ
Biometric ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อนี้ และ (2) การใช้ระบบ Biometric ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
ระบบ Biometric ทุกประกอบด้วยระบบย่อย 5 ระบบที่ท างานร่วมกัน (R.Vacca, 2009) ได้แก่
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 108