Page 113 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
P. 113
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
บางครั้งเรียกระบบดังกล่าวว่า “Single Sign-on” ที่ต้องอาศัยโปรโตคอลชนิดพิเศษที่เรียกว่า “LDAP
(Lightweight Directory Access Protocol)” จึงจะสามารถท าได้
การก าหนดสิทธิ์เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมการเข้าถึงระบบและทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ ซึ่งเมื่อ
กล่าวถึงการควบคุมการเข้าถึงแล้ว ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแบบจ าลองของการก าหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้
ฐานข้อมูลเป็นแบบจ าลองที่เรียกว่า “Bell-LaPadula Model” และตารางการก าหนดสิทธิ์เข้าใช้งาน
(Access Control List Matrix: ACL) (sites.google, 2558, [ออนไลน์])
Bell-LaPadula Model เป็นแบบจ าลองที่ใช้ก าหนดการควบคุมการเข้าถึงแบบบังคับ (Mandatory
Access Control) ซึ่งเป็นการก าหนดความมั่นคงปลอดภัยแบบหลายระดับ (Multi-Level Security) โดยการ
จัดแบ่งข้อมูลและผู้ใช้ออกเป็นระดับต่าง ๆ ผู้ใช้แต่ละระดับจะมีสิทธิ์ในการเข้าถึงและด าเนินการกับข้อมูลใน
ระดับที่ถูกก าหนดไว้ให้ตามนโยบายขององค์กรเท่านั้น ดังนั้นผู้ใช้จึงไม่สามารถส่งต่อสิทธิ์ให้แก่ผู้ใช้คนอื่นได้
(sites.google, 2558, [ออนไลน์])
Bell-LaPadula Model ก าหนดให้มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (sites.google, 2558, [ออนไลน์])
1. Object ประกอบไปด้วย Table, View, Row, Column และ Operation
2. Subject ประกอบไปด้วย User, Program และโมดูลต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล
3. Class คือ ระดับความมั่นคงของ Object มี 4 ระดับ ได้แก่ TC (Top Secret),
S (Secret), C (Confidential) และ U (Unclassified) โดยก าหนดให้มีความส าคัญเป็น TC > S > C > U
ทั้งหมดก าหนดตามความส าคัญของข้อมูล
4. Clearance คือ สิทธิ์ของ Subject ในการเข้าถึง Object ที่มีความมั่นคงในระดับต่าง ๆ มี 4
ระดับเช่นกัน Class
หากก าหนดให้ “S” คือ Subject และ “O” คือ Object และก าหนดให้ความมั่นคงของ Object (O) เขียน
แทนด้วย Class (O) ส่วนสิทธิ์ในการเข้าถึง Object ใด ๆ ของ Subject เขียนแทนด้วย Class (S) แล้วผู้ใช้จะ
สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการอ่านและเขียนได้จะต้องตรงกับเงื่อนไขของ Mandatory Access Control 2
ประการ ดังนี้ (sites.google, 2558, [ออนไลน์])
1. กฎ Simple Security Property หรือเรียกว่า “Read Up Policy” Subject “S” จะสามารถ
อ่านข้อมูล Object “O” ได้ก็ต่อเมื่อ Class (S) ≥ Class (O) แปลว่าผู้ใช้ S จะสามารถอ่านข้อมูล O ได้ ก็
ต่อเมื่อมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลในระดับที่สูงกว่าหรือเท่ากับระดับความมั่นคงของข้อมูล O กฎข้อนี้ก าหนด
ขึ้นมาเพื่อ “ความพร้อมใช้ (Availability)” ของข้อมูล
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 111