Page 114 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
P. 114
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
2. Star Property (*-Property) หรือเรียกว่า “Write Down Policy” Subject “S” จะสามารถ
เขียนข้อมูล Object “O” ได้ ก็ต่อเมื่อ Class (S) ≤ Class (O) แปลว่า ผู้ใช้ S จะสามารถเขียนข้อมูล O ได้ก็
ต่อเมื่อระดับความมั่นคงของข้อมูล O สูงกว่าหรือเท่ากับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่ผู้ใช้ S ได้รับ กฎข้อนี้
ก าหนดขึ้นมาเพื่อรักษา “ความลับ (Confidentiality)” ของข้อมูล กล่าวคือ ป้องกันการเขียนข้อมูลในระดับ
ความมั่นคงที่ต่ ากว่า เพราะจะท าให้ผู้ใช้รายอื่นสามารถดูข้อมูลดังกล่าวได้ซึ่งจะเรียกปัญหาลักษณะนี้ว่า
“Flow Down Information” เช่น Somchai มีสิทธิ์ในระดับ S กับข้อมูล V ที่มีความมั่นคงในระดับ S หาก
ไม่บังคับใช้กฎข้อนี้ Somchai จะสามารถอ่านข้อมูล V ได้ และสามารถเขียนข้อมูล V ด้วยระดับความมั่นคง
ใหม่ คือ U ซึ่งเป็นระดับต่ าอาจท าให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่สามารถดูข้อมูลที่ควรเป็นความลับดังกล่าวได้
ตัวอย่างก าหนดการควบคุมการเข้าถึง Table “EMPLOYEE” จากการให้สิทธิ์ต่อกันของผู้ใช้ ดังสถานการณ์
ต่อไปนี้ (sites.google, 2558, [ออนไลน์])
“Jimmy อยู่ฝ่ายบุคคลมีหน้าที่ในการสร้างและแก้ไขข้อมูลใน Table “EMPLOYEE” ผู้ดูแล
ฐานข้อมูลจึงให้สิทธิ์ดังกล่าวแก่ Jimmy ส่วน Somsri อยู่ฝ่ายขายไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในการเรียกใช้ข้อมูลจาก
Table “EMPLOYEE” แต่ Somsri มีสิทธิ์ในการสร้าง Table ที่เกี่ยวข้องกับงานขายได้ทั้งหมด และ Somsri
ต้องการข้อมูล “เงินเดือน” ของพนักงานจึงคิดวางแผนสร้าง Table “MYTABLE” แล้วให้สิทธิ์ในการเพิ่ม
ข้อมูลแก่ Jimmy เพื่อให้ Jimmy น าข้อมูล “เงินเดือน” ของพนักงานแต่ละคนมาใส่ไว้ใน “MYTABLE” ที่
ตนเองสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการส่งต่อสิทธิ์ในสถานการณ์ดังกล่าว DBA จึงได้ก าหนดมาตรการควบคุมการ
เข้าถึงข้อมูลแบบ Mandatory โดยก าหนดระดับความมั่นคงของ Object และ Subject ต่าง ๆ ดังนี้
Table “EMPLOYEE” มีระดับความมั่นคง = “S”
Jimmy มีสิทธิ์ในการใช้ข้อมูลในระดับ = “S”
Somsri มีสิทธิ์ในการใช้ข้อมูลในระดับ = “C”
จากข้อก าหนดข้างต้น Somsri มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลในระดับ = “C” ดังนั้น Table “MYTABLE” ที่ Somsri สร้าง
จึงมีความมั่นคงในระดับ = “C” ด้วยเช่นกัน นั่นหมายความว่า Class (Jimmy) > Class (MYTABLE) แม้
Jimmy จะสามารถอ่านข้อมูลใน “MYTABLE” ที่ Somsri เตรียมไว้ให้ก็ตาม แต่ Jimmy ไม่สามารถเขียน
ข้อมูลลงใน “MYTABLE” เนื่องจาก Jimmy มีสิทธิ์สูงกว่าระดับความมั่นคงของ “MYTABLE” ซึ่งขัดกับกฎ
*-Property ดังนั้น Jimmy จึงไม่มีสิทธิ์เขียนข้อมูลใด ๆ ลงใน MYTABLE ได้
Access Control List (ACL) Matrix (sites.google, 2558, [ออนไลน์])
Access Control List (ACL) Matrix คือ กลไกการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรของระบบ โดยการแสดง
รายชื่อผู้ใช้ระบบ และการกระท าที่ผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้กระท าต่อทรัพยากรใด ๆ ของระบบตาราง ACL
ประกอบด้วย
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 112