Page 58 - คำวินิจฉัยศาลปกครองด้านพัสดุ
P. 58
๔๖
๗. หลักประกัน
๗.๑ หลักประกันมี ๒ ประเภท คือ หลักประกันซองและหลักประกันสัญญา โดยสิ่งที่จะ
๗๕
น ามาเป็นหลักประกันได้ ได้แก่ (ข้อ ๑๔๑ )
๑) เงินสด
๒) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ลงวันที่ที่ใช้เช็คช าระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้น
ไม่เกิน ๓ วันท าการ
๓) หนังสือค ้าประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่ กวพ. ก าหนด
๔) หนังสือค ้าประกันของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท
เงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนตามประกาศของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
๕) พันธบัตรรัฐบาลไทย
๗.๒ ให้ก าหนดมูลค่าหลักประกันในอัตราร้อยละห้าของวงเงินหรือราคาพัสดุที่จัดหา
เว้นแต่การจัดหาพัสดุที่มีความส าคัญเป็นพิเศษ อาจก าหนดสูงกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบ
ก็ได้ (ข้อ ๑๔๒ วรรคหนึ่ง)
๗.๓ ต้องระบุการก าหนดหลักประกันเป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคา
และ/หรือในสัญญาด้วย (ข้อ ๑๔๒ วรรคสาม)
๗.๔ กรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคาหรือเป็นคู่สัญญาไม่ต้อง
วางหลักประกัน (ข้อ ๑๔๓)
๗.๕ การคืนหลักประกัน (ข้อ ๑๔๔)
๑) หลักประกันซอง ให้คืนแก่ผู้เสนอราคาหรือผู้ค ้าประกันภายใน ๑๕ วัน นับแต่
วันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้นแล้ว เว้นแต่ผู้เสนอราคาที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต ่าสุดไม่เกิน
๓ ราย ให้คืนเมื่อได้ท าสัญญาหรือข้อตกลง หรือเมื่อพ้นจากข้อผูกพันแล้ว
๒) หลักประกันสัญญา ให้คืนแก่คู่สัญญาหรือผู้ค ้าประกันอย่างช้าไม่เกิน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา
๓) การจัดหาที่ไม่ต้องมีการประกันเพื่อความช ารุดบกพร่อง ให้คืนหลักประกัน
แก่คู่สัญญาหรือผู้ค ้าประกันตามอัตราส่วนของพัสดุที่ทางราชการได้รับมอบ
๔) หลักประกันที่เป็นหนังสือค ้าประกันของธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมฯ
บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซึ่งคู่สัญญาหรือผู้เสนอราคาไม่มารับภายในเวลา
๗๕ ข้อ ๑๔๑ แก้ไขโดยข้อ ๒๔ ของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๓๙