Page 152 - cover-biology-boontieam new28-8 i_coateduv
P. 152

ของกรมฯ  ในการจัดเก็บรายได้และดำเนินการตามภารกิจหน้าที่และความ

            รับผิดชอบ  ตลอดจนนโยบายของกรมฯ  ได้เป็นอย่างดี  จนเป็นที่กล่าวขวัญถึง
            และเป็นที่น่าอิจฉาและน่าหมั่นไส้ในขณะเดียวกัน  จนผมต้องนำเรียนท่านอธิบดี
            ในเวลานั้นว่า  ขออย่าได้ชมมากนัก  เพราะจะทำให้เกิดความหมั่นไส้ผมและ
            ทีมงานมากขึ้น  ซึ่งจะส่งผลทำให้ผมและทีมงานทำงานได้ยากและลำบากมากขึ้น

            ตามไปด้วย  ซึ่งท่านอธิบดีก็เข้าใจ  และทำตามคำขอของผม  ทำให้ผมและ                                                                                            ภาพสถานี  1 - 6  ใน  ICD
            ทีมงานสามารถทำงานได้โดยไม่มีอะไรมากดดัน  ส่งผลให้สามารถทำงานได้ด้วย                                                                                         การรถไฟฯ  ลาดกระบัง
            ความราบรื่นเรียบร้อยด้วยดี  และมีผลการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้านที่พอจะ                                                                                         ซึ่งเป็นสถานที่ตรวจปล่อย
            เล่าให้เป็นความรู้และประสบการณ์หลายเรื่อง  ดังจะได้เล่าต่อไป                                                                                                สินค้าที่ขนส่งโดยระบบ
                                                                                                                                                                        คอนเทนเนอร์นอกเขต
                                                                                                                                                                        ทำเนียบท่าเรือ
                    ดั่งเครื่องบินทะยานสู่ท้องฟ้า
                    สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง  ลาดกระบัง  หรือ  ICD  LAtKRABANG
            ประกอบด้วยอาคารสำนักงานกลาง  และสถานีที่เป็นโรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อย

            ของขาเข้า  และบรรจุของขาออกที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์อีก  6  แห่ง  ช่วงที่
            ผมไปทำงานยังเปิดดำเนินการไม่ครบทุกสถานี  มีเพียง  4  สถานีที่เปิดดำเนินการ
            แล้ว  คือ  สถานี  1  (A)  บริษัท  สยามชอร์ไซด์  เซอร์วิส  จำกัด  สถานี  2  (B)
            บริษัท  อิสเทิร์นซีแหลมฉบัง  เทอร์มินัล  จำกัด  สถานี  3  (C)  บริษัท  เอเวอร์กรีน

            คอนเทนเนอร์  เทอร์มินัล  (ประเทศไทย)  จำกัด  และสถานี  6  (F)  บริษัท  เอ็น.
            วาย.  เค.  ดิสทริบิวชั่น  เซอร์วิส  (ประเทศไทย)  จำกัด  ส่วนสถานี  4  (D)  บริษัท
            ทิฟฟ่า  ไอซีดี  จำกัด  และสถานี  5  (E)  บริษัท  ไทยฮันจิน  โลจิสติกส์  จำกัด
            ในขณะนั้นยังไม่เปิดดำเนินการ  จึงได้ตั้งคณะกรรมการประสานงานการเปิดดำเนิน

            กิจการสถานี  D  และ  E  ขึ้นมา  เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ครบทุกสถานี  ซึ่ง
            ในเวลานั้น  การตรวจปล่อยของขาเข้าที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์  หาก
            ของที่บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์มีหลายเจ้าของ  จะต้องเปิดตรวจพร้อมกัน
            ทำให้เกิดความไม่สะดวก  จึงได้มีการแก้ปัญหาโดยการเสนอขอแก้ไขประมวล

            ระเบียบปฏิบัติศุลกากรให้สามารถนำของในตู้คอนเทนเนอร์ที่มีหลายเจ้าของ
            เข้าเก็บในโรงพักสินค้าของสถานีไว้ก่อน  เพื่อรอการตรวจปล่อยทีละรายได้
            ซึ่งก่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้นำเข้าสินค้ารายย่อยเป็นอย่างมาก  ทำให้ทุกสถานี
            สามารถเปิดดำเนินกิจการได้ครบทุกสถานี  และมีปริมาณใบขนสินค้าขาเข้าเพิ่มขึ้น

            เป็นจำนวนมาก  การรถไฟฯ  และผู้ประกอบการทุกสถานีสามารถดำเนินกิจการได้
            อย่างเต็มประสิทธิภาพ  ส่งผลให้ปริมาณงานของ  ICD  ลาดกระบัง  เจริญเติบโต
            เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ต้องมีการขออัตรากำลังเจ้าหน้าที่เข้ามาเพิ่ม  เพื่อให้สามารถ



            150                                                                                                                                                                    151
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157