Page 266 - cover-biology-boontieam new28-8 i_coateduv
P. 266

สำหรับแท่นประดิษฐานองค์พระพุทธสงขลามหามงคล  ได้ทำพิธีวาง

            ศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่  14  ธันวาคม  2552  ตรงกับวันจันทร์  แรม  12  ค่ำ
            เดือน  1  ปีฉลู  เอกศก  จุลศักราช  1371  ประกอบด้วยราชาแห่งฤกษ์  โดยมีผม
            ในฐานะนายด่านฯ  เป็นประธานในพิธี  และเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จถึงวันฤกษ์ดี
            มีมงคล  วันที่  4  มกราคม  2553  เวลา  15.49  น.  เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรสงขลา

            ได้พร้อมใจกันอัญเชิญองค์พระพุทธสงขลามหามงคล  หรือหลวงพ่อศิลา
            ขึ้นประดิษฐานบนแท่นดังกล่าว  และนิมนต์พระสงฆ์จำนวน  9  รูปมาทำพิธีปลุกเสก
            เบิกเนตร  เมื่อวันที่  5  มกราคม  2553  เพื่อความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคล
            สืบไป  โดยพระพุทธสงขลามหามงคลนี้  ถือเป็นพระประธานประจำด่านศุลกากร

            สงขลา  สำหรับเคารพ  สักการะ  กราบไหว้บูชา  เพื่อความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
            แก่ชาวด่านศุลกากรสงขลาและผู้มาติดต่อราชการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


                    จากด่านศุลกากรสงขลาสู่ด่านศุลกากรสะเดา

                    หลังจากทำงานอยู่ที่ด่านฯ  สงขลารอบสองได้ประมาณ  2  ปี  ก็ได้รับ
            คำสั่งย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งนายด่านศุลกากรสะเดา  เพื่อไปรับผิดชอบโครงการ
            ก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่  บนพื้นที่ประมาณ  700  ไร่  ซึ่งมีปัญหา
            เรื่องการบุกรุกพื้นที่ที่รอการแก้ไขปัญหาอยู่  ในระหว่างการเจรจาต่อรองกับราษฎร

            ที่อยู่ในพื้นที่  ก็ได้ดำเนินการของบประมาณในวงเงิน  21  ล้านบาทเศษ  เพื่อ
            ดำเนินการจัดจ้างออกแบบการก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่
            พร้อมสิ่งปลูกสร้างประกอบอื่น ๆ  โดยใช้หลักการแยกคนกับสินค้าออกจากกัน                                  โมเดลจำลองโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่
            เพื่อความสะดวกในการให้บริการและการควบคุมทางศุลกากร  เตรียมพร้อมรองรับ                                 ที่ทำการด่านศุลกากรสะเดา

            การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว  ณ  บริเวณชายแดนไทย -
            มาเลเซีย  ด้านอำเภอสะเดาของไทยกับด่านบูกิ๊ดกายูฮิตัมของมาเลเซีย  โดย
            ออกแบบให้เป็นอาคารที่ทันสมัย  ประหยัดพลังงาน  และมีสิ่งอำนวยความสะดวก
            ครบครัน  เปรียบเสมือนการออกแบบยานอวกาศแล้วนำมาจอดไว้ที่บริเวณชายแดน

            เมื่อออกแบบเสร็จแล้วได้ทำเป็นแบบจำลอง  (Model)  ไว้ให้เห็นภาพทั้งโครงการ
            ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  แบบจำลองดังกล่าวได้ถูกนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
            ในงานต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาลหลายครั้งหลายหน  เพื่อเป็นต้นแบบของ
            การพัฒนาด่านชายแดนในภูมิภาคต่าง ๆ  โดยสามารถปรับลดขนาดให้เหมาะสม

            กับพื้นที่ก่อสร้างได้ในรูปแบบขนาด  S  M  L  (Small,  Medium,  Large)  หาก
            มีการนำไปใช้เป็นแบบจริงในการก่อสร้าง  โดยในระหว่างการออกแบบก็ได้เจรจา
            ต่อรองกับราษฎรที่อยู่ในพื้นที่เพื่อให้ยอมรับการจ่ายเงินชดเชยผลอาสินและ



            264                                                                                                                                                                    265
   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271