Page 17 - อิเหนา
P. 17
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป
หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่
เดิมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้ บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
ตั้งแต่หนึ่งถึงสี่สิบห้าเล่ม เขียนเต็มตัวดีดินสอสิ้น
ได้ลอกต่อต่อมาเป็นอาจิณ ใครยลยินยืมไปอย่าให้ยับ
พากเพียรเขียนยากลำบากลำบน ต้องซุกซนเต็มประดาหาฉบับ
เสียเลี่ยงโผโล่ลายหลายพับ จึงกำชับว่าไว้พอให้รู้
ครั้นจะขัดทัดทานไม่ให้เล่า ก่นแต่เฝ้าว่าขานรำคาญหู
นักเลงอ่านพาลเขลาข้างเจ้าชู้ พอใจดูสมพาสมาตุคาม
บ้างมากวนล้วนจะเอาทีเข้าห้อง ฉวยได้คล่องต้องจิตคิดย่าม
ยืมต่อยอส่งบ่งความ เจ้าของตามใจนักมักยับเอย
จบบทอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 เท่านี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเรื่องอิเหนามาก แต่มีบทละครที่สามารถนำมาเล่นละคร
ได้อยู่เพียงฉบับเดียว คือฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 เพราะฉบับอยุธยาสูญหายไปเสียมาก ที่เหลืออยู่พอจะ
ใช้เล่นได้ก็รวมอยู่ในพระราชนิพนธ์นั้นแล้ว พระองค์จึงทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่เกือบทั้งเรื่อง เนื่องจาก
บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 เป็นที่นิยมกันว่าแต่งดี ต้องพระราชประสงค์จะให้ใช้เล่นละคร
ในได้จริง ๆ บทละครสำนวนนี้จึงไม่ใช่เป็นแต่เพียงวรรณคดีไทยที่ควรแก่การอ่านเท่านั้น ยังเป็นบทละครที่ใช้
แสดงได้ดีกว่าสำนวนอน ๆ ที่มีอยู่ การแสดงละครในสมัยต่อมาก็ยังมีผู้นำบทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
ื่
มาดัดแปลงไปบ้าง เพื่อใช้แสดงให้เหมาะสมกับจังหวะของชีวิตและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแต่ละสมัย
(เสาวลักษณ์ อนันตศานต์,2554,น.273 – 275)
หน้า | 14