Page 14 - อิเหนา
P. 14

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               เพื่อถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภาหอพระสมุดวชิรญาณใน

               ขณะนั้น เนื้อเรื่องของพงศาวดารอิเหนาฉบับนี้น่าจะเป็นเค้าเรื่องของ อิเหนา (เล็ก) ของไทย


                       อิเหนา หรือ หิกะยัต ปันหยี สมิรัง พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลจาก
               ภาษามลายู ซึ่งมีต้นฉบับเดิมเป็นภาษาชวา ชื่อว่า ปันหยี สมิรัง ทรงแปลไว้เมื่อ พ.ศ. 2481 พิมพ์เผยแพร่

               ครั้งแรกในงานพระเมรุของพระองค์ท่านเมื่อ พ.ศ. 2493 เนื้อความต่าง ไปจากฉบับอารีนคราและต่างไปจาก

               เรื่องหิกะยัด ปันหยี สมิรัง ที่กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากรทรง เก็บความจากฉบับที่ระเด่น บูรพจรกะส่งมาให้

               อ่าน


                       ปันหยีสมหรังคำกลอน เป็นงานประพันธ์ของ น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร ดัดแปลงจาก พระนิพนธ์
                               ิ
               เรื่อง หิกะยัด ปันหยี สมิรัง ของ จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
               กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ


                       นอกจากนี้แล้ว สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังทรงพระนิพนธ์เชิงอรรถตอน หนึ่งใน ตำนาน

               ละครอิเหนา ไว้ว่า หอพระสมุดฯ มีหนังสือเรื่องอิเหนาภาษามลายูอีกฉบับหนึ่ง หวันเต๊ะมารดา

               เจ้าพระยาไทรบุรีถวายไว้ ในต้นฉบับกล่าวว่าเดิมตาหลังชื่อ อริยะเป็นผู้แต่งเป็น ภาษาชวา แล้วแปลมา

               เป็นภาษามลายู สมเด็จฯ ทรงลองให้แปลเป็นภาษาไทย เนื้อเรื่องต่างไปอีก สำนวนหนึ่งไม่เหมือนทั้งตาหลัง

               และอิเหนา เข้าใจว่าคงไม่มีฉบับแปลที่สมบูรณ์ กล่าวโดยสรุปแล้ว เรามีวรรณคดีเรื่องอิเหนาในภาษาไทยทังที่
                                                                                                       ้
               พิมพ์เผยแพร่แล้วและยังไม่ได้ พิมพ์ถึง 17 สำนวนด้วยกันเป็นอย่างน้อย คือ


                       1. บทละครเรื่องอิเหนาครั้งกรุงเก่า มีที่พิมพ์แล้วตอนเดียว คือตอนที่สมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงรา

               ชานุภาพ ทรงคัดลงในหนังสือ ตำนานละครอิเหนา (หน้า 107-115) ทรงได้ต้นฉบับมาจาก

               เมืองนครศรีธรรมราช เดิมเข้าใจว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

               แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า สำนวนและความที่พรรณนาไว้ น่าจะเป็น

               สำนวนครั้งกรุงเก่ามากกว่า ดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว

                       2. อิเหนาคำฉันท์ งานนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุ มีเนื้อความ

               เฉพาะตอนอิเหนาลักนางบุษบาไปซ่อนในถ้ำ


                       3. บทละครมรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตามข้อสันนิษฐาน

               ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


                       4. บทละครเรื่องดาหลัง พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พิมพ์ครั้งแรก

               เมื่อ พ.ศ. 2433 โดยโรงพิมพ์นายเทพ





                                                                                                    หน้า | 11
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19